(!) เนื่องจาก Microsoft จะหยุดให้การสนับสนุนระบบปฏิบัติการ Windows 7 ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2563 และอาจส่งผลให้ผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 ไม่สามารถใช้งานเว็บไซต์มิซูมิได้อย่างสมบูรณ์ กรุณาอัพเดทระบบและบราวเซอร์ตามเงื่อนไขระบบที่รองรับมิซูมิเว็บไซต์

  • แจ้งวันหยุดทำการในเดือนธันวาคม 2567 และวันหยุดทำการเทศกาลปีใหม่ 2568 | Notice holiday in December 2024 and New Year Holiday 2025 > คลิก
  • การยกเลิกจำหน่ายสินค้าประเภทอุปกรณ์นิวเมติกส์ (Pneumatic equipment) รุ่น “Economy Series” ​| Notice of End of Sales for Economy Series Pneumatic Equipment Category > คลิก

NIIGATA GAUGES HANDBOOK

NIIGATA

เกจ คืออะไร

เกจเป็นเครื่องมือวัดที่มีหลากหลายประเภทซึ่งแต่ละประเภทต่างก็มีวิธีการใช้งานที่แตกต่างกัน คู่มือฉบับนี้จึงขอนำตัวอย่างการใช้งานเครื่องมือในสถานการณ์ต่าง ๆ พร้อมภาพประกอบมานำเสนอให้ได้รู้จักกัน อนึ่ง เนื้อหาในคู่มือฉบับนี้เป็นการหยิบยกเพียงตัวอย่างการใช้งานเกจบางประเภทเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมถึงเกจทุกชนิด

เกจ เป็นเครื่องมือวัดที่เหมือนไม้บรรทัด จัดเป็นเครื่องมือวัดที่มีความแม่นยำมากที่สุดและรวดเร็วที่สุดในการตรวจสอบ

ในกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ ขนาดของผลิตภัณฑ์ย่อมมีขีดจำกัดบนและขีดจำกัดล่าง ซึ่งผู้ออกแบบจำเป็นต้องพิจารณาร่วมกับค่าสูงสุดและต่ำสุดที่คาดการณ์ไว้เพื่อกำหนดค่าความเผื่อ (Tolerance) ที่ยอมรับได้จากกระบวนการผลิต หากความเผื่อที่ยอมรับได้มีช่วงแคบ การตัดสินว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่ย่อมกระทำได้ยาก ด้วยเหตุนี้ เกจจึงเป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้ง่ายและรวดเร็วที่สุดในการตัดสินใจดังกล่าว

การอบด้วยความร้อน (Heat Treatment) คืออะไร

การอบชุบแข็ง (การให้ความร้อนและความเย็นแก่โลหะเพื่อเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและทางกล)

โครงสร้างของเหล็กกล้าที่อุณหภูมิห้องนั้นเรียกว่าเฟอร์ไรต์ (Ferrite) เมื่อให้ความร้อนเฟอร์ไรต์จะเปลี่ยนสภาพเป็น*ออสทิไนต์ จากนั้นจึงเปลี่ยนสภาพเป็น*มาร์เทนไซต์ เมื่อทำให้เย็นตัวลง กระบวนการเหล่านี้คือการอบชุบแข็ง โดยอุณหภูมิที่ใช้ในการอบชุบแข็งของเหล็กกล้า SK SKS จะอยู่ที่ประมาณ 800⁰C ใขณะที่เหล็กกล้า SKD จะอยู่ที่ 1,000-1,050 ⁰C และเหล็กกล้า SKH จะอยู่ที่ 1,200 ⁰C ขึ้นไป

การบำบัดด้วยความเย็น (กระบวนการที่ช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพจากการใช้งาน)

เหล็กที่ผ่านกระบวนการอบชุบแข็งแล้วจะถูกนำไปทำให้เย็นตัวลงต่ำกว่า 0ºC เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการสลายตัวของออสทิไนต์ โดยทัวไปแล้วจะใช้น้ำแข็งแห้ง (-78ºC) อย่างไรก็ตาม หากใช้ไนโตรเจนเหลว (-196ºC) เป็นสารทำความเย็นยิ่งยวดในการบำบัด (Cryogenics) จะช่วยให้ผลลัพธ์ในการย่อยสลายองค์ประกอบดังกล่าวดียิ้งขึ้น

ออสทิไนต์ที่ตกค้าง

โครงสร้างของมาร์เทนไซต์ทั้งหมดจะไม่เปลี่ยนสภาพอย่างครบถ้วนจากการเย็นตัวลงกลับสู่อุณหภูมิปกติเนื่องจากยังมีมีออสทิไนต์ที่ยังคงตกอยู่บางส่วนปะปนเข้าไปในระหว่างกระบวนการอบชุบแข็ง หากมีออสทิไนต์หลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมากจะทำให้ได้ความแข็งไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดหลังจากอบด้วยความร้อน

การบำบัดให้เกิดความคงตัว

ในการป้องกันการเสื่อมสภาพจากการใช้งานจำเป็นต้องมีการอบคืนตัวด้วยอุณหภูมิเฉลี่ย ช่วงอุณหภูมิเฉลี่ย (ประมาณ 500ºC) เป็นช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดในการสลายออสทิไนต์ตกค้าง หลังจากอบคืนรูปด้วยอุณหภูิที่เหมาะสมนี้แล้วออสทิไนต์ที่ยังคงตกค้างอยู่จะอยู่ในสถานะที่ถูกกระตุ้น ซึ่งเป็นสภาวะที่มีแนวโน้มว่าจะถูกย่อยสลาย และ เกิดการเสื่อมอายุไป ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาด้วยการทำให้ออสทิไนต์ที่เหลืออยู่นั้นคงตัวนั้นเป็นสิ่งที่ต้องทำต่อไปภายหลังจากที่ทำการบำบัดให้เกิดความคงตัวต่อไปอีกครั้งที่อุณหภูมิเฉลี่ยอื่นๆ ที่ 250-450 ºC

*ออสทิไนท์ (Austenite) : ชื่อเรียกของเหล็กกล้าในสถานะที่มีอุณหภูมิที่สูง

*มาร์เทนไซต์ (Martensite) : สารละลายของแข็งของเหล็กกล้าหลังจากที่อะตอมคาร์บอนเกิดการอิ่มตัว อย่างยิ่งยวด โดยธรรมชาติจะมีลักษณะเปราะบางไม่แข็ง

วัสดุทั่วไปของเกจ

เหล็กกล้า

เหล็กกล้า SKS มาตรฐาน JIS หรือวัสดุอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติทางกลเทียบเท่า หรือ เหนือกว่า SKS ที่ได้ผ่านกระบวนการทางความร้อนเพื่อปรับความคงตัวแล้ว

เซรามิก

องค์ประกอบพื้นฐานของเซรามิกคือออกไซด์เมทัลลิที่ผ่านการอบด้วยอุณหภูมิสูงจนเกิดการบีบอัดแน่นแบบเผาผนึก (Sintering) เซอร์โคเนีย

  • (Zirconia) เป็นเซรามิกที่มีความเหนียวและแข็งมากที่สุด อะลูมินา
  • (Alumina) เป็นวัสดุที่มีการใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดในงานเซรามิก เนื่องจากมีคุณสมบัติยอดเยี่ยมทั้งในด้านความแข็งแกร่งเชิงกล ความเป็นฉนวนไฟฟ้า การลดทอนความถี่ การนำความร้อน การทนความร้อน การต้านทานการเสียดสี และทนสนิมำ

ซีเมนต์ คาร์ไบด์

โลหะผสมที่เกิดจากการนำวัสดุเมทัลลิคมาเชื่อมพันธะกันผ่านการเผาผนึก

  • ความแข็งสูง (ประมาณ 1200 HV)
  • ค่า Young’s modulus (ค่าความแข็ง) เป็นสามเท่าของเหล็กกล้า
  • ความถ่วงจำเพาะสูงกว่าเหล็กกล้าสองเท่า

เหล็กกล้าสแตนเลส

วัสดุประเภทนี้ประกอบด้วยโครเมียมและการผสานกันของออกซิเจนภายในอากาศโดยขึ้นรูปเป็นเป็นชั้นฟิล์มบาง ๆ บนพื้นผิวซึ่งช่วยป้องกันสนิม จึงไม่จำเป็นต้องนำไปชุบผิวหรือเคลือบสารกันสนิมใด ๆ

คุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิด

ความแข็งแบบวิกเกอร์ ความแข็งแกร่ง ความเหนียว ความถ่วงจำ - เพาะ ค่าสัมประสิทธิ์การ
ขยายตัวของความร้อน
ค่าการนำความร้อน
อะลูมินา 1,800 370 3~4 3.9 7.2 32
เซอร์โคเนีย 1,200 200 7~8 6.0x 10.5 3
แสตนเลส
(SUS304)
1,200 620 20 16 5.5 85
คาร์ไบด์
(G2)
450 200 210 7 18 41
เหล็กกล้า
(SKH)
730
(ชุบแข็ง)
205 110~1 7.8 11 76

• การทดสอบค่าความแข็งของวิกเกอร์ (HV)

ในการทดสอบความแข็งให้ใช้หัวกดเพชรรูปทรง พิระมิดสี่เหลี่ยมจตุรัสกดลงบนพื้นผิวของวัสดุ

• ความแข็งแกร่ง (GPa)

คุณสมบัติของวัสดุจะทนต่อการเสียรูปร่างเนื่องจากแรงภายนอก เช่น การบีบอัด การกระแทก การบิดหมุน ฯลฯ

• ความเหนียว (GPa)

วัสดุมีการยึดติดกันแน่นมากซึ่งช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของวัสดุจากแรงกระทำจากภายนอกได้ดี

• ค่าความถ่วงจำเพาะ

ค่าอัตราส่วนระหว่างมวลของวัตถุต่อมวลของวัตถุอ้างอิงที่นำมาเปรียบเทียบในปริมาตรที่เท่ากัน

• การขยายตัวทางความร้อน

การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิทำให้ความยาวและปริมาตรเพิ่มขึ้น
 

• การนำความร้อน

การที่ความร้อนเคลื่อนที่จากจุดที่มีอุณหภูมิสูงกว่าไปยังจุดที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าภายในวัตถุ

« หัวข้อก่อนหน้า
เฟือง (Gear) ประเภทต่างๆ
หัวข้อถัดไป»
การใช้งาน Clamp for Mold
MISUMI 5 Benefit

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม?

customer service

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือปรึกษาเรื่องเวลารับคำสั่งซื้อและกำหนดส่ง
ติดต่อฝ่าย Customer Service
โทร.038-959-200 กด 1 หรือ อีเมล cs@misumi.co.th