(!) เนื่องจาก Microsoft จะหยุดให้การสนับสนุนระบบปฏิบัติการ Windows 7 ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2563 และอาจส่งผลให้ผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 ไม่สามารถใช้งานเว็บไซต์มิซูมิได้อย่างสมบูรณ์ กรุณาอัพเดทระบบและบราวเซอร์ตามเงื่อนไขระบบที่รองรับมิซูมิเว็บไซต์

  • Notice of End of Sales for Economy Series Pneumatic Equipment Category. More information.
  • แจ้งวันหยุดทำการในเดือน กรกฎาคมและสิงหาคม 2567 | Notice holiday in July and August 2024 > คลิก

NIIGATA CALIBRATION HANDBOOK

NIIGATA

คำศัพท์ที่ใช้ในงานสอบเทียบ

คำจำกัดความ/คำอธิบายคำศัพท์ที่ใช้ในงานสอบเทียบ

ความไม่แน่นอนในการวัด
(Measurement uncertainty)

ตามนิยามของ JIS ได้ให้คำจำกัดความเอาไว้ว่า “ค่าประมาณของช่วงการวัดที่มีค่าที่แท้จริงอยู่” เนื่องจากค่าที่แท้จริงนั้นไม่สามารถหาได้จากการวัด เราจึงทำได้เพียงประมาณช่วงที่มีค่าที่แท้จริงตามการกระจายของค่าที่วัดได้ ความไม่แน่นอนในการวัดคือค่าเชิงปริมาณของความไม่แน่นอนของค่าที่วัดได้ซึ่งใช้ในการวัดค่าความเชื่อมั่น การกระจายของค่าที่วัดได้และข้อมูลที่ใช้ในขณะวัดค่า (เครื่องมือวัด สภาพแวดล้อม และทักษะของผู้วัดค่า) คือสาเหตุที่ทำให้เกิดความไม่แน่นอน โดยส่วนใหญ่ค่าเชิงตัวเลขจะมีระดับความเชื่อมั่นอยู่ที่ 95% (ค่าองค์ประกอบครอบคลุม (coverage factor) K=2) ยิ่งค่าเชิงตัวเลขมีค่าน้อย ผู้วัดค่าก็ยิ่งจำเป็นต้องมีทักษะสูงขึ้น วิธีการวัดค่าความไม่แน่นอนที่ดีที่สุดในปัจจุบันคือ ISO guide (GUM)

ความไม่แน่นอนในการวัด

ISO/IEC17025
(JIS17025)

มาตรฐานคุณภาพสำหรับห้องปฏิบัติการและสถาบันสอบเทียบเครื่องมือเพื่อกำหนดและให้การรับรองด้านระบบการบริหารจัดการคุณภาพห้องปฏิบัติการและสถาบันสอบเทียบที่ได้รับการรับรองดังกล่าวจะถือว่ามีคุณสมบัติตามมาตรฐานสากล เฉพาะสถาบันสอบเทียบเครื่องมือที่ได้รับการรับรองตามเงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้นจึงจะได้รับเครื่องหมาย JCSS

ISO 9001

ระบบการจัดการมาตรฐานระดับสากลสำหรับ ISO (International Standardization Organization) ”มาตรฐานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงคุณภาพและความพึงพอใจของลูกค้า” องค์กรจะต้องมีระบบการบริหารจัดการคุณภาพ เอกสาร การปฏิบัติจริง และการบำรุงรักษา มาตรฐานดังกล่าวนี้จำเป็นต้องมีระบบการบริหารจัดการคุณภาพที่ทรงประสิทธิภาพในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

มาตรฐานการวัดระดับนานาชาติ
(National Measurement Standard)

มาตรฐานการวัดที่ได้รับการรับรองในระดับนานาชาติ

การสอบกลับได้
(Traceable)

เครื่องมือวัดที่ผ่านการสอบเทียบกับมาสเตอร์โดยใช้มาสเตอร์ที่ได้รับการสอบเทียบกับมาสเตอร์ที่แม่นยำกว่า และมาสเตอร์ที่แม่นยำกว่าก็จะต้องได้รับการสอบเทียบจากมาสเตอร์ที่แม่นยำยิ่งกว่า ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วมาสเตอร์ที่แม่นยำที่สุดจะต้องสอบกลับไปยังมาตรฐานการวัดแห่งชาติได้ จึงจะเรียกเครื่องมือเหล่านั้นว่า “มีการสอบกลับได้ถึงมาตรฐานการวัดแห่งชาติ”

ความสามารถในการสอบกลับ
(Traceability)

คุณสมบัติที่เกิดขึ้นเมื่อมาสเตอร์หรือเครื่องมือวัดได้รับการสอบเทียบซ้ำด้วยมาตรฐานที่สูงกว่าและเชื่อมโยงถึงมาตรฐานแห่งชาติและมาตรฐานระดับนานาชาติได้

ค่าที่แท้จริง
(True Value)

ค่าที่แท้จริงของวัตถุที่ทำการวัดค่า (เป็นเพียงค่าทางทฤษฎี เนื่องจากค่าที่แท้จริงไม่สามารถวัดได้ ดังนั้นจึงต้องใช้ค่าอื่นแทนค่าที่แท้จริง ยกเว้นในบางสถานการณ์พิเศษ)

การกระจาย
(Dispersion)

ลักษณะที่เกิดขึ้นเมื่อค่าที่วัดได้ไม่เป็นระเบียบหรือไม่สม่ำเสมอ

ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้
(Error Tolerance)

ค่าที่ได้จากการนำค่าที่วัดได้หักลบด้วยค่าที่แท้จริง

ความคลาดเคลื่อนจากการวัดค่าซ้ำที่ยอมรับได้
(Repetition Tolerance)

ผลลัพธ์ที่แตกต่างมากที่สุดจากการวัดวัตถุเดิมด้วยวิธีการและเงื่อนไขเดิมซ้ำเป็นจำนวนหลายรอบในช่วงเวลาสั้น ๆ

« หัวข้อก่อนหน้า
เฟือง (Gear) ประเภทต่างๆ
หัวข้อถัดไป»
การใช้งาน Clamp for Mold
MISUMI 5 Benefit

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม?

customer service

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือปรึกษาเรื่องเวลารับคำสั่งซื้อและกำหนดส่ง
ติดต่อฝ่าย Customer Service
โทร.038-959-200 กด 1 หรือ อีเมล cs@misumi.co.th