(!) เนื่องจาก Microsoft จะหยุดให้การสนับสนุนระบบปฏิบัติการ Windows 7 ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2563 และอาจส่งผลให้ผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 ไม่สามารถใช้งานเว็บไซต์มิซูมิได้อย่างสมบูรณ์ กรุณาอัพเดทระบบและบราวเซอร์ตามเงื่อนไขระบบที่รองรับมิซูมิเว็บไซต์

  • แจ้งวันหยุดทำการในเดือนธันวาคม 2567 และวันหยุดทำการเทศกาลปีใหม่ 2568 | Notice holiday in December 2024 and New Year Holiday 2025 > คลิก
  • การยกเลิกจำหน่ายสินค้าประเภทอุปกรณ์นิวเมติกส์ (Pneumatic equipment) รุ่น “Economy Series” ​| Notice of End of Sales for Economy Series Pneumatic Equipment Category > คลิก

โอริงกันซึมกันรั่ว ในงานอุตสาหกรรม

อุปกรณ์ซีล นวัตกรรมกันซึมกันรั่ว ในงานอุตสาหกรรม

โอริง (O-Ring)

ยางซีลที่มีรูปร่างเหมือนอักษร O (กลม) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันการรั่วซึม

โอริง (O-Ring)

หลังจากที่เราติดตั้งโอริงเข้าไปในตำแหน่งที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว โอริงจะมีความยืดหยุ่นที่ค่อนข้างสูง
และปรับตัวให้เข้ากับรูปวัสดุที่ทำให้ช่องว่างระหว่างผิวโอริง (O-Ring) กับผิวของวัสดุปิดสนิทจนไม่มีช่องว่าง

บริเวณที่เชื่อมต่อของข้อต่อ จะถูกซีลของโอริงปิดสนิท เพื่อป้องกันการรั่วไหลจากภายในและ
การแทรกซึมจากภายนอก

ความสามารถในการซีลปิดสนิทของโอริง เกิดจากแรงคืนตัวซึ่งมาจากการบีบอัดในตัวเอง

Niels Christensen

Niels Christensen

ยางโอริงในยุคแรกผลิตจากน้ำยางธรรมชาติ ต่อมาในปี ค.ศ. 1930 บริษัทดูปองต์ (DuPont) เป็นบริษัทแรกที่ได้พัฒนา
การผลิตยางโอริงโดยใช้ยางสังเคราะห์ หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1937ยางโอริง ได้รับการจดสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกา โดยมีผู้ประดิษฐ์ คือ นายนีล คริสเตนเซ่น (Niels Christensen) ชาวเดนมาร์ก โดยยางโอริงนี้ มีลักษณะเป็นยางที่มีลักษณะเป็นวงแหวนเล็กๆ
ใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับกันซึม กันรั่ว ในส่วนข้อต่อต่างๆ ทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ระบบท่อ และสุขภัณฑ์

ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Niels_Christensen

คุณสมบัติของวัสดุของโอริง

คุณสมบัติของวัสดุของโอริง

ตารางแสดงมาตรฐานโอริง

การใช้งาน สำหรับเครื่องจักรทั่วไป สำหรับรถยนต์ สำหรับเครื่องบิน
มาตรฐาน JIS B 2401 JASOF404 AS568 (ตย.APR568)
AN6227 (รหัสเก่า JISW1516)
AN6230 (รหัสเก่า JISW1517)
การแบ่งกลุ่ม รหัส JIS การใช้งาน รหัส JASO การใช้งาน สัญลักษณ์ การใช้งาน
จำแนก
ตามวัสดุ
B          
Type 1 A (∗) น้ำมันแร่ (ความแข็ง 70) Type 1 A น้ำมันแร่ วัสดุ น้ำมันไฮดรอลิค ปิโตเลียม
Type 1 B น้ำมันแร่ (ความแข็ง 90) Type 2 น้ำมันเบนซิน อ้างอิงตามสัญลักษณ์  
Type 2 น้ำมันเบนซิน Type 3 น้ำมันพืชและสัตว์    
Type 3 น้ำมันพืชและสัตว์ Type 4 C ทนความร้อน / ความเย็น    
Type 4 C ทนความร้อน / ความเย็น Type 4 D ทนความร้อน    
Type 4 D ทนความร้อน Type 4 E ทนความร้อน    
จำแนกตามการใช้งาน P - ทั้งแบบเคลื่อนที่และแบบอยู่กับที่
G - แบบอยู่กับที่
V - หน้าแปลนสุญญากาศ
※ JIS มีเฉพาะวัสดุประเภท 1 A
ทั้งแบบเคลื่อนที่และแบบอยู่กับที่ AN6227 - ทั้งแบบเคลื่อนที่และแบบอยู่กับที่
AN6230 - แบบอยู่กับที่
AS568   - ทั้งแบบเคลื่อนที่และแบบอยู่กับที่

ผู้ใช้ควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดต่างๆของ โอริงในแต่ละชนิด เกี่ยวกับลักษณะการทำงานของเครื่องจักร ลักษณะอุปกรณ์ที่จะใช้และคุณสมบัติของของเหลวที่
เกี่ยวข้อง รวมตลอดถึงสภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆ

ข้อแนะนำในการเลือกใช้โอริง

  • เลือกใช้วัสดุตามการใช้งาน อุณหภูมิในพื้นที่ปฏิบัติงาน (°C) แรงดันใช้งาน
    ของเหลวที่ใช้งาน ฯลฯ
  • ตรวจสอบเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน (mm) และเส้นผ่านศูนย์กลางสาย (mm)
    ความหนาของ O-Ring
โอริง (O-Ring)

สินค้าโอริงจากแบรนด์ชั้นนำ

มิซูมิ เรามีโอริงหลายหลากยี่ห้อให้เลือกมากกว่า สินค้าครบครันในที่เดียว คุณภาพเยี่ยม

BRAND MISUMI

BRAND ESCO

BRAND MUSASHI OILSEAL

BRAND NOK

BRAND MORISEI

BRAND MASUOKA

มอก. ที่เกี่ยวข้อง

มอก. 2728 - 2559 กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยางโอริง
ประกาศจากกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4831 (พ.ศ.2559) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511

« หัวข้อก่อนหน้า
ลูกบิด สำหรับงานอุตสาหกรรม
หัวข้อถัดไป »
เทอร์มินอลบล็อก (Terminal Blocks)
MISUMI 5 Benefit