(!) เนื่องจาก Microsoft จะหยุดให้การสนับสนุนระบบปฏิบัติการ Windows 7 ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2563 และอาจส่งผลให้ผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 ไม่สามารถใช้งานเว็บไซต์มิซูมิได้อย่างสมบูรณ์ กรุณาอัพเดทระบบและบราวเซอร์ตามเงื่อนไขระบบที่รองรับมิซูมิเว็บไซต์

  • แจ้งวันหยุดทำการในเดือนธันวาคม 2567 และวันหยุดทำการเทศกาลปีใหม่ 2568 | Notice holiday in December 2024 and New Year Holiday 2025 > คลิก
  • การยกเลิกจำหน่ายสินค้าประเภทอุปกรณ์นิวเมติกส์ (Pneumatic equipment) รุ่น “Economy Series” ​| Notice of End of Sales for Economy Series Pneumatic Equipment Category > คลิก

ชนิดของสกรูและการใช้งาน

พื้นฐานเกี่ยวกับสกรู

ชนิดของสกรู/ แรงขันที่เหมาะสมของ Bolt/ ค่า Torque ขันสกรูที่เหมาะสม

ชนิดของสกรู

รูปทรงของเกลียวสกรู

  • เกลียวสามเหลี่ยมนิยมใช้ในการยึดติดชิ้นส่วน เกลียวสามเหลี่ยม
  • เกลียวสี่เหลี่ยมใช้ในกรณีที่ต้องการเสริมแรง
    ให้เกลียว ส่วนใหญ่ใช้ใน
    ชิ้นส่วนส่งกำลัง (เช่น หัวแจ๊ค
    ปากกาจับชิ้นงาน เป็นต้น)
    เกลียวสี่เหลี่ยม
  • เกลียวสี่เหลี่ยมคางหมูใช้ในชิ้นส่วนสำหรับ
    ส่งกำลังเท่านั้น (เช่น สกรู
    ส่งกำลังของแท่นกลึง เป็นต้น)
    เกลียวสี่เหลี่ยมคางหมู

เกลียวตัวผู้และเกลียวตัวเมีย

เกลียวตัวผู้และเกลียวตัวเมีย
Spec รหัส ตัวอย่าง
เกลียวเมตริกชนิดหยาบ M M3
เกลียวเมตริกชนิดละเอียด M (ตามด้วยขนาด Pitch) M3 x 0.35
เกลียวยูนิไฟด์ชนิดหยาบ UNC 3/4-10UNC
เกลียวยูนิไฟด์ชนิดละเอียด UNF 1/2-20UNF

เกลียวตัวผู้

วัตถุที่มีเกลียวสกรูรูปทรงกรวยหรือทรงกระบอกอยู่ด้านนอก

เกลียวตัวเมีย

วัตถุที่มีเกลียวสกรูอยู่ด้านใน

สกรูนั้น เนื่องจากเกลียวตัวผู้และเกลียวตัวเมียจะต้องใช้ประกอบเข้าคู่กัน ดังนั้นค่า Dimension ในแต่ละตำแหน่งจึงต้องพอดีกันด้วย

* หาก Nominal ไม่ตรงกันก็จะยึดติดกันไม่ได้

ดูข้อมูลสินค้าสกรู

วัสดุ

เงื่อนไขที่ต้องการสำหรับวัสดุของสกรู

  • • ราคาถูกและหาได้ง่าย
  • • มีความแข็งแรงและทนทาน ใช้ในกระบวนการอุตสาหกรรมได้
  • • เลือกใช้วัสดุที่มีส่วนประกอบและทนความร้อนได้เหมาะสม ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพการใช้งานได้ดี

วัสดุทดแทน

  • • เหล็กกล้าผสม SCM (Chromium-Molybdenum Steel) : มาตรฐาน
  • • Stainless steel SUS : ใช้ในตำแหน่งที่ไม่ต้องการให้เกิดสนิมหรือ เกิดการทำปฏิกริยาเคมี
วัสดุของสกรู

การเคลือบผิว

  • • พื้นผิว Tetra Oxide Iron (Black Oxide)
  • • Bright Chrome Plating
วัสดุของสกรู วัสดุของสกรู

แรงขันตามแนวแกนที่เหมาะสมของ Bolt/ ค่า Torque ขันสกรูที่เหมาะสม เนื่องจากการคำนวณแรงขันโดยใช้ค่า Torque เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย

แรงขันตามแนวแกนและขีดจำกัดความล้าในการขัน Bolt

  • • การคำนวณแรงขันตามแนวแกนที่เหมาะสมในการขัน Bolt นั้น การคำนวณโดย ใช้ค่า Torque จะใช้ค่า spec ของความเค้นพิสูจน์ที่ 70% เป็นค่าสูงสุดของ ความยืดหยุ่นที่รับได้
  • • ค่าขีดจำกัดความล้าของ Bolt จากการรับโหลดซ้ำต้องไม่เกินค่าที่ยอมรับได้
  • • ห้ามขัน Bolt และ Nut ให้จมเกินผิวเกลียว
  • • ห้ามขันแน่นจนผิวเกลียวเกิดความเสียหาย

การคำนวณแรงขันตามแนวแกนและค่า Torque ที่ต้องใช้ในการขันสกรู

 
แรงขันตามแนวแกน Ff=0.7• σy• As k : ค่าสัมประสิทธิ์ของ Torque
Torque ในการขันสกรู TfA=0.35k (1+1/Q) σy• As• d d : เส้นผ่านศูณย์กลางของ Bolt [cm]
Q : ค่าสัมประสิทธิ์ในการขันสกรู
σy : ค่าความเค้นพิสูจน์ (กรณีของ Strength class 12.9 มีค่าเท่ากัน 112 kgf/mm2)
As : พื้นที่หน้าตัดของ Bolt (mm2)

< ตัวอย่างการคำนวณ >
การยึดติดระหว่างเหล็กอ่อนและเหล็กอ่อนโดยใช้สกรูหัวหกเหลี่ยม
M6 (Strength class 12.9) และขันสกรูในสภาพที่มีน้ำมันหล่อลื่น

 
ค่าของแรงตามแนวแกนคือ
Ff=0.7• σy• As
     =0.7• 112• 20.1
     =1576[kgf]
ดังนั้น ค่า Torque ที่เหมาะสมคือ
TfA=0.35k (1+1/Q) σy• As• d
      =0.35• 0.17 (1+1/1.4) 112• 20.1• 0.6
      =138[kgf• cm]

ค่าสัมประสิทธิ์ของ Torque แยกตามการชุบผิว
ของ Bolt และวัสดุของส่วนเกลียวรวมถึง
การประกอบร่วมกับวัสดุของเกลียวตัวเมีย

ตารางค่าสัมประสิทธิ์ของ Torque

S10C:เหล็กเหนียวไม่อบชุบ
SCM:เหล็กเหนียวอบชุบ (35HRC)

FC:เหล็กหล่อ (FC200)
AL:อะลูมิเนียม SUS:Stainless (SUS304)

ค่ามาตรฐานของค่าสัมประสิทธิ์
ในการขันสกรู Q

ตารางค่ามาตรฐานของค่าสัมประสิทธิ์ในการขันสกรู Q
ดูข้อมูลสินค้าสกรู

สกรูพลาสติก

สกรูพร้อมแหวนอีแปะ

« หัวข้อก่อนหน้า

ประวัติและหน้าที่ของสกรู

MISUMI 5 Benefit

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม?

customer service

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือปรึกษาเรื่องเวลารับคำสั่งซื้อและกำหนดส่ง
ติดต่อฝ่าย Customer Service
โทร.038-959-200 กด 1 หรือ อีเมล cs@misumi.co.th