(!) เนื่องจาก Microsoft จะหยุดให้การสนับสนุนระบบปฏิบัติการ Windows 7 ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2563 และอาจส่งผลให้ผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 ไม่สามารถใช้งานเว็บไซต์มิซูมิได้อย่างสมบูรณ์ กรุณาอัพเดทระบบและบราวเซอร์ตามเงื่อนไขระบบที่รองรับมิซูมิเว็บไซต์
เราได้รับการติดต่อจากลูกค้าว่ากำลังสร้างเครื่องจักรที่มีเพลาหลายเส้นที่ขับเคลื่อนโดยสเต็ปมอเตอร์ เพลาทั้งหมดจะหมุนสัมพันธ์กันแต่ความเร็วต่างกัน ลูกค้าได้หาข้อมูลในเรื่องนี้และพบว่าน่าจะใช้ สายพานไทม์มิ่ง ได้ แต่ไม่แน่ใจในวิธีการเลือกชิ้นส่วนต่างๆ จึงอยากให้มิซูมิช่วยแนะนำการเลือกใช้สายพานไทม์มิ่งที่เหมาะสม
มิซูมิยินดีให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสินค้าต่างๆ เสมอ สำหรับเครื่องจักรที่ต้องใช้ทำงานที่สัมพันธ์กันของชิ้นส่วนต่างๆนั้น จังหวะเวลาเป็นเรื่องสำคัญมาก เราควรเริ่มต้นด้วยการทำความรู้จักกับวิธีการทำงานของสายพานไทม์มิ่งและพูลเล่ย์หรือลูกรอกกันก่อน
สายพานไทม์มิ่ง จะถูกนำมาใช้เมื่อการหมุนของเพลาสองเส้นนั้นจำเป็นจะต้องสัมพันธ์กันอย่างแม่นยำ ในงานส่งกำลัง (Power Transmission) นั้นสายพานส่งกำลังและลูกรอกแบบปกตินั้นจะมีผิวที่เรียบ ดังนั้นสายพานจึงเลื่อนหลุดบ่อยครั้งและทำให้เพลาหมุนแค่เพียงเส้นเดียว ในขณะที่สายพานไทม์มิ่งนั้นจะมีฟันตลอดความยาวของสายพาน ซึ่งจะช่วยยึดการหมุนของเพลาและป้องกันการลื่นไถล ส่วนในรถยนต์นั้นสายพานไทม์มิ่งจะทำให้เพลาข้อเหวี่ยงทำงานสัมพันธ์กับเพลาลูกเบี้ยวเพื่อให้จังหวะการเปิดปิดวาล์วไอดีและวาล์วไอเสียให้ทำงานอย่างถูกต้อง ซึ่งหากสายพานไทม์มิ่งฉีกขาด วาล์วต่างๆจะทำงานผิดพลาดและทำให้เครื่องยนต์เสียหาย
รูปสายพานไทม์มิ่งและพูลเล่ย์จาก Photomacrography
การเลือกสายพานนั้นมีรายละเอียดมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความกว้าง จำนวนฟัน ระยะพิต วัสดุ ฯลฯ โดยผู้ผลิตแต่ละรายจะแนะนำให้ใช้สายพานแตกต่างกันไปตามลักษณะของเครื่องจักร ความเร็วของเพลา การส่งกำลัง สภาพแวดล้อมและรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ ที่ต้องควรระวังคืออย่าใช้สายพานที่มีขนาดใหญ่เกินไป เพราะสายพานที่ใหญ่และแข็งเกินไปนั้นจะเป็นภาระต่อมอเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าที่จะรองรับได้
เช่นเดียวกับระบบสายพานและพูลเล่ย์ทั่วไป เราจำเป็นจะต้องกำหนดอัตราทด ยกตัวอย่างเช่นถ้าเพลาเส้นที่ #1 จำเป็นจะต้องหมุนให้เร็วเป็น 2 เท่าของเพลาเส้นที่ #2 เราก็จะมีอัตราทดที่ 2:1 ซึ่งเมื่อเราคำนวณอัตราทดที่ต้องการได้แล้วเราก็จะสามารถเลือกพูลเล่ย์ที่เหมาะสมได้โดยดูจากจำนวนฟันของพูลเล่ย์ เช่นจากตัวอย่างที่กล่าวมา ถ้าเราใช้พูลเล่ย์ 16 ฟันกับเพลาเส้นที่ #1 เราก็จะต้องใช้พูลเล่ย์ 32 ฟันกับเพลาเส้นที่ #2
รูปแสดงความยาวของสายพาน จาก Nonstop Systems
ลำดับต่อไปเป็นส่วนที่ต้องระวังในการออกแบบ นั่นคือการเลือกใช้ความยาวของสายพาน เราจำเป็นจะต้องรู้ระยะห่างระหว่างกึ่งกลางของเพลาแต่ละเส้นและเส้นผ่านศูนย์กลางของพูลเล่ย์ทั้งสองตัว ซึ่งตามปกติทางผู้ผลิตจะระบุไว้แล้ว และผู้ผลิตสายพานส่วนใหญ่จะมีเครื่องมือคำนวณระยะสายพานแบบออนไลน์ให้ใช้ แต่เราก็สามารถคำนวณเองได้ตามสูตรด้านล่างนี้ ดูข้อมูลสินค้าสายพานไทม์มิ่ง
ถ้าต้องการค่าที่ถูกต้องจริงๆ เราสามารถใช้สูตรด้านล่างนี้คำนวณ
โดยที่
อนึ่ง สูตรคำนวณนี้ไม่ได้คำนึงถึงการดึงสายพาน ซึ่งโดยทั่วไปการดึงสายพานนั้นควรจะอยู่ที่ระยะ 1% - 8% สายพานจะถูกผลิตตามความยาวที่ตายตัวไว้ล่วงหน้า เราอาจจะต้องปรับระยะห่างของเพลาหรือเพิ่มขนาดพูลเล่ย์เพื่อให้ทำงานได้ตามที่ต้องการ
ถึงตรงนี้คุณสามารถเลือกชิ้นส่วนที่เหมาะสำหรับงานของคุณ โดยเลือกชนิดของสายพานตามการใช้งานที่แนะนำจากแต่ละผู้ผลิต กำหนดขนาดพูลเล่ย์ตามอัตราทดของเพลา และคำนวณความยาวของสายพาน เมื่อนำทุกอย่างมาประกอบเข้าด้วยกัน เครื่องจักรของคุณจะต้องทำงานได้อย่างดีเยี่ยมแน่นอน ดูข้อมูลสินค้าสายพานไทม์มิ่ง
สายพานไทมิ่งจากแบรนด์ MITSUBOSHI BELTING
pitch 3 mm / belt width 9 mm 3GT สายพานไทมิ่งจากแบรนด์ NBK
สายพานไทมิ่งจากแบรนด์ KATAYAMA CHAIN
สายพานไทมิ่งจากแบรนด์ KATAYAMA CHAIN
สายพานไทมิ่งจากแบรนด์ BANDO KAGAKU
สายพานไทมิ่งจากแบรนด์ MISUMI
Bottom Metel Short สายพานไทมิ่งจากแบรนด์ MISUMI
สายพานไทมิ่งจากแบรนด์ BEIDI
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือปรึกษาเรื่องเวลารับคำสั่งซื้อและกำหนดส่ง
ติดต่อฝ่าย Customer Service
โทร.038-959-200 กด 1 หรือ อีเมล cs@misumi.co.th