Magnet Q&A
คำถามที่พบบ่อย
- แม่เหล็กสามารถปรับแต่งหลังกระบวนการแปรรูปได้หรือไม่
- แม่เหล็กนั้นแตกหักง่ายจึงไม่สามารถนำไปตัดแต่งหรือต๊าปเกลียวได้
แรงแม่เหล็กอาจลดลงเมื่อผ่านกระบวนการแปรรูปหรือได้รับแรงกระแทก - แม่เหล็กเป็นไปตามข้อกำหนดของ RoHs หรือไม่
- สินค้าทุกชนิดของเราเป็นไปตามข้อกำหนดของ RoHs รวมถึงสินค้าแม่เหล็กด้วย
- แม่เหล็กขึ้นสนิมง่ายหรือไม่
- แม่เหล็กขึ้นสนิมง่ายตามลำดับดังนี้ Neodymium→Alnico→Cobalt→Ferrite
แต่หากผ่านการชุบผิวด้วยนิกเกิ้ลก็จะเป็นสนิมได้ยาก - แม่เหล็กใช้งานได้ถึงอุณหภูมิกี่องศา
- อุณหภูมิที่สามารถทนได้ของสารแม่เหล็ก Neodymium อยู่ที่ 80 องศาเซลเซียส Heat Resistance Neodymium อยู่ที่ 150 องศาเซลเซียส Cobalt อยู่ที่ 200 องศาเซลเซียส Ferrite อยู่ที่ 300 องศาเซลเซียส Alnico อยู่ที่ 400 องศาเซลเซียส
- แม่เหล็กที่มีแรงแม่เหล็กสูงคือชนิดใด
- แม่เหล็กมีแรงแม่เหล็กสูงคือ Neodymium>Cobalt>Alnico>Ferrite ตามลำดับ
- ค่า surface magnetic flux density gauss 〔G〕กับแรงดูดแตกต่างกันอย่างไร
-
ค่า surface magnetic flux density คือ ค่าที่แสดงถึงปริมาณของ magnetic flux (จำนวนเส้นแรงแม่เหล็ก) ต่อพื้นที่ 1 ตร.ซม. ค่าที่วัดได้จะแปรเปลี่ยนไปตามตำแหน่งที่วัดค่าขนาดของสารแม่เหล็ก และรูปร่างแรงดูด คือ ค่าที่แสดงถึงน้ำหนักเหล็กเป็นกิโลกรัมที่สามารถยกขึ้นได้ในแนวดิ่ง
ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงการอธิบายอย่างง่ายเท่านั้น - สารแม่เหล็กดูดสแตนเลสได้หรือไม่
-
สสารมีทั้งประเภทที่สารแม่เหล็กดูดติดได้และดูดติดไม่ได้
สแตนเลสตระกูล 400 (แร่เหล็กที่มีโครเมี่ยมผสมอยู่เกินกว่า 10.5% ขึ้นไป)สามารถดูดติดได้ แต่ สแตนเลสตระกูล 300(แร่เหล็กที่มีโครเมี่ยมผสมอยู่ 18% และมีนิกเกิ้ลผสมอยู่ 8%)จะไม่สามารถดูดติดได้ แต่ทว่า หากนำสแตนเลสตระกูล 300 ไปขึ้นรูปลึก หรือผ่านกระบวนการขึ้นรูปเย็น ก็สามารถเปลี่ยนแปลงการเรียงตัวจนมีอำนาจแม่เหล็กเกิดขึ้นได้ - Heat-resistant temperature กับ Curie temperature แตกต่างกันหรือไม่
-
แตกต่างกัน
Heat-resistant temperature คือ อุณหภูมิสุดท้ายที่หากแม่เหล็กดังกล่าวมีอุณหภูมิเลยกว่านี้ไป อำนาจแม่เหล็กจะไม่ย้อนกลับคืนมาอีก
Curie temperature คือ อุณหภูมิที่สารแม่เหล็กหมดสภาพความเป็นแม่เหล็กโดยสมบูรณ์
หากเลยจากอุณหภูมิ Curie temperature ไปแล้ว ถึงแม้จะปล่อยให้อุณหภูมิกลับมาที่อุณหภูมิปกติอีกครั้ง พลังแม่เหล็กก็จะไม่ฟื้นฟูกลับมาตามธรรมชาติ - ควรเลือกใช้กาวแบบไหนดี
- ขอแนะนำให้ใช้กาวสำหรับติดโลหะทุกชนิด แบบผสม 2 สาร
Q. คุณลักษณะของ Rubber Magnet
● ประเภท High strength type และ Strong type ขั้ว N กับขั้ว S จะเรียงสลับกันทุก 6 มม. หากดูตามภาพตัดขวางจะเห็นขั้วแม่เหล็กตามแผนภาพด้านล่าง ฝั่งที่ถูก seal ไว้จะไม่มีพลังแม่เหล็กผ่านออกมา
● Standard type ความกว้างของขั้วแม่เหล็กเป็นดังตารางด้านล่าง หากดูตามภาพตัดขวางจะเห็นขั้วแม่เหล็กตามแผนภาพด้านขวาสุดนี้ ฝั่งที่ถูก seal ไว้ จะไม่มีพลังแม่เหล็กผ่าน
- แม่เหล็กมีคุณลักษณะอย่างไรบ้าง
- แม่เหล็กแต่ละวัสดุมีคุณสมบัติดังนี้
Q. จุดเด่น
Neodymium Magnet ปัจจุบันเป็นวัสดุที่มีแรงแม่เหล็กสูงที่สุด มีจุดเด่นที่แม้ขนาดเล็ก แต่มีแรงแม่เหล็กมาก ข้อเสียคือเป็นสนิมง่าย จัดเป็นแม่เหล็กที่ทำจากแร่หายากเช่นเดียวกับ Cobalt Magnet Cobalt Magnet ชื่อทางการคือ Samarium Cobalt Magnet เป็นวัสดุที่มีแรงแม่เหล็กสูงรองจาก Neodymium Magnet ข้อดีคือเป็นสนิมได้ยาก และใช้ได้ในอุณหภูมิสูงด้วย แต่เนื่องจากมีความแข็งแรงเชิงกลต่ำและแตกหักง่ายมากจึงจำเป็นต้องใช้งานอย่างระมัดระวัง Ferrite Magnet มีแรงแม่เหล็กต่ำ ค่า Coercivity สูงเมื่อเทียบกับแร่อื่น จึงเป็นวัสดุที่สูญเสียสภาพความเป็นแม่เหล็กได้ยาก มีความแข็งแรงเชิงกลต่ำและแตกหักง่ายจึงจำเป็นต้องใช้งานอย่างระมัดระวัง Alnico Magnet ทนต่ออุณหภูมิดีมากและมีความแข็งแรงเชิงกลที่สูง ข้อเสียคือสูญเสียสภาพความเป็นแม่เหล็กได้ง่ายมาก Q. ข้อควรระวังในการใช้งาน
- ・แม่เหล็กทุกชนิดเป็นวัสดุแตกหักได้ง่าย จึงนำเข้ากระบวนการดัดแปลงต่อไม่ได้
- ・หากได้รับการกระแทกรุนแรงอาจเกิดความเสียหายได้ โปรดเคลื่อนย้ายด้วยความระมัดระวัง
- ・สนามแม่เหล็กอาจส่งผลเสียต่อสินค้าดังต่อไปนี้
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ นาฬิกาข้อมือ
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจ - ・หากใช้งานนอกขอบเขตของอุณหภูมิสูงสุดที่ใช้งานได้ อาจทำให้แรงแม่เหล็กลดลง
- ・หากแม่เหล็กได้รับการกระแทกรุนแรง เมื่อนำเข้ากระบวนการแปรรูปอาจส่งผลให้แรงแม่เหล็กลดลงได้
- ・เพื่อไม่ให้รับแรงกระแทกโดยตรง ควรเว้นระยะไว้ 0.1-0.3 มม.
Q. ค่าเฉพาะ
E ค่าในตารางเป็นเพียงค่าสำหรับการใช้งานทั่วไป ไม่ใช่ค่าที่รับประกัน
Q. ทิศทางแม่เหล็ก
Q. จัดลำดับตามคุณลักษณะ
Q. เปรียบเทียบ Heat-resistant temperature
ค่าอุณหภูมิสูงสุดที่ใช้งานได้เป็นค่าอุณหภูมิในกรณีที่เป็นสารแม่เหล็ก
Q. เปรียบเทียบความทนทานต่อสนิม
ก่อนทดสอบ ผ่านไป 24 ชม. ผ่านไป 72 ชม. Neodymium Magnet(การชุบผิว : ไม่มี)ความทนทานต่อสนิม : ต่ำ Neodymium Magnet (การชุบผิว : Nickel Plating) ความทนทานต่อสนิม : ดีเยี่ยม Cobalt Magnet (การชุบผิว : ไม่มี) ความทนทานต่อสนิม : ดี Cobalt Magnet (การชุบผิว : Nickel Plating) ความทนทานต่อสนิม : ดีเยี่ยม E ทดสอบความชื้นตามมาตรฐาน JIS K 5400 ข้อ 9.2.2. แต่ในการทดลองที่อุณหภูมิ 50℃ ได้ใช้อุณหภูมิในการทดลองจริงเป็น 70℃
E คราบที่เหมือนรอยด่างบน Cobalt Magnet เป็นคราบน้ำQ. จุดเด่นของแม่เหล็ก
โหลด {kgf} = โหลด N x 0.101972
E หลีกเลี่ยงกระบวนการดัดแปลงแม่เหล็ก
เนื่องจากจะทำให้ชิ้นส่วนของแม่เหล็กเสียหายได้
E การกระแทกอย่างรุนแรงที่กระทำโดยตรงต่อผิวหน้าของแม่เหล็ก
อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้
E แม่เหล็กที่มี Holder ควรติดตั้งให้มีการเว้นระยะไว้ 0.1-0.3 มม.
เพื่อป้องกันแรงกระแทกที่กระทำต่อผิวหน้าแม่เหล็กขณะดูดจับ
E Holder ของแม่เหล็กยึดติดไว้ด้วยกาว
* "แรงดูด"
ติดต่อสอบถาม
เวลาทำการและรับคำสั่งซื้อ
8:00 - 18:00
(วันจันทร์ - วันเสาร์)
TEL : 038-959-200 กด 1
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม?
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือปรึกษาเรื่องเวลารับคำสั่งซื้อและกำหนดส่ง
ติดต่อฝ่าย Customer Service
โทร.038-959-200 กด 1 หรือ อีเมล cs@misumi.co.th