(!) เนื่องจาก Microsoft จะหยุดให้การสนับสนุนระบบปฏิบัติการ Windows 7 ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2563 และอาจส่งผลให้ผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 ไม่สามารถใช้งานเว็บไซต์มิซูมิได้อย่างสมบูรณ์ กรุณาอัพเดทระบบและบราวเซอร์ตามเงื่อนไขระบบที่รองรับมิซูมิเว็บไซต์

  • Scheduled Maintenance Notice: This site will be unavailable due to scheduled maintenance from 8:00 24/11/2024 to 6:00 25/11/2024. We apologize for the inconvenience.
  • แจ้งวันหยุดทำการในเดือน พฤศจิกายน 2567 | Notice holiday in November 2024 > คลิก
  • การยกเลิกจำหน่ายสินค้าประเภทอุปกรณ์นิวเมติกส์ (Pneumatic equipment) รุ่น “Economy Series” ​| Notice of End of Sales for Economy Series Pneumatic Equipment Category > คลิก

ลิเนียร์บุชชิ่ง

ลิเนียร์บุชชิ่ง (Linear Bushing) อุปกรณ์สำหรับการป้องกันการเคลื่อนที่ของเพลาหรือสายพานลำเลียง

ลิเนียร์บุชชิ่ง (Linear Bushing)

ลิเนียร์บุชชิ่ง (Linear Bushing) เป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์นำทางการเคลื่อนที่แบบลูกกลิ้ง สำหรับการเคลื่อนที่ในระบบกลไกเชิงเส้น ใช้รองเพลาของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ต่างๆ มีลักษณะคล้ายกับปลอกท่อใช้สวมเข้ากับท่อนแกนทรงกระบอก โดยทำงานควบคู่กับเพลาเชิงเส้น (Linear Shaft) ด้วยการกลิ้งของเม็ดลูกปืน สามารถลดแรงสั่นสะเทือน ติดตั้งง่าย มีหลากหลายขนาดให้เลือกใช้งาน ดังนั้นเราจึงควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ลิเนียร์บุชชิ่ง (Linear Bushing) อุปกรณ์สำหรับการป้องกันการเคลื่อนที่ของเพลาหรือสายพานลำเลียง

โครงสร้างและส่วนประกอบต่าง ๆ ลิเนียร์บุชชิ่ง (Linear Bushing)

ประเภทและคุณสมบัติของลิเนียร์บุชชิ่ง (Linear Bushing)

ประเภทตรง (Straight Type)

ประเภทตรง (Straight Type)

เหมาะสำหรับใช้งานทั่วไป ซึ่งเป็นอุปกรณ์รองเพลาระหว่างทำงานร่วมกับเครื่องจักรกล มีลักษณะคล้ายปลอกท่อทรงกระบอก มีขนาดสั้น ด้านในมีเม็ดลูกปืนเรียงเป็นแถว ๆ มีระบบการทำงานเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง จึงช่วยให้การเคลื่อนไหวมีความแม่นยำและต้านทานแรงเสียดทานได้ดี

ประเภทหน้าแปลน (Flange Type)

ประเภทหน้าแปลน (Flange Type)

เนื่องจากมีหน้าแปลนสำหรับติดตั้งซึ่งสามารถขันเกลียวล็อกสกรูได้ จึงเหมาะสำหรับงานที่ต้องมีการประกอบติดตั้ง สามารถแบ่งได้ 3 แบบ คือหน้าแปลนกลม หน้าแปลนสี่เหลี่ยม และหน้าแปลนทรงรี บุชชิ่งประเภทนี้ นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายในเครื่องจักรอุตสาหกรรม ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องจักรก่อสร้าง งานปั๊ม และอื่น ๆ อีกมากมาย

ประเภทบล็อก (Housing Type)

ประเภทบล็อก (Housing Type)

ลิเนียร์บุชชิ่งประเภทหน้าแปลน ผลิตแบบฝังในบล็อกอะลูมิเนียมด้านนอก มีลักษณะเป็นฐาน ที่มีรูยึดอยู่ด้านบนของฐาน สำหรับด้านบนและด้านข้างมีร่องรางที่กว้าง จึงทำให้สามารถติดตั้งเข้ากับวัตถุได้แน่นหนาและเคลื่อนที่เชิงเส้นได้อย่างต่อเนื่อง ทนแรงเสียดทานได้

ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติเบื้องต้นของอุปกรณ์กลไกระบบเคลื่อนที่เชิงเส้นแต่ละชนิด

ประเภท ลิเนียร์บุชชิ่ง บุชชิ่งแบบไม่ใช้น้ำมัน รางลูกปืนขนาดเล็ก บอลสปายน์ รางสไลด์
(Linear Bushing) (Oil Free Bushing) (Miniature Ball Guide) (Ball Spline) (Linear Guide)
ผลิตภัณฑ์ ลิเนียร์บุชชิ่ง (Linear Bushing) บุชชิ่งแบบไม่ใช้น้ำมัน (Oil Free Bushing) รางลูกปืนขนาดเล็ก (Miniature Ball Guide) บอลสปายน์ (Ball Spline) รางสไลด์ (Linear Guide)
LMU10 MPBZ10-10 BGZ10-100-30-20 BSSM10-150 SEB20-160
ต้นทุน
การต้านแรงเสียดทาน ◯ (มีซีล) ◯ (มีซีล) ◯ (มีซีล)
การรับน้ำหนัก
ความแม่นยำ
การหมุน - - -
เปรียบเทียบคุณสมบัติเบื้องต้นของอุปกรณ์กลไกระบบเคลื่อนที่เชิงเส้นแต่ละชนิด

◎ เปรียบเทียบโดยใช้ลิเนียร์บุชชิ่ง บุชชิ่งแบบไม่ใช้น้ำมัน รางลูกปืนขนาดเล็ก และบอลสปายน์ ที่มีขนาดรู dr10 ส่วนรางสไลด์ใช้รุ่นที่มีความสูงของบล็อกชนิด H20 ที่มีความสูงของบล็อกเท่ากับความสูงของ Housing

◎ ลิเนียร์บุชชิ่ง บอลสปายน์ และรางสไลด์จะมีซีลเป็นส่วนประกอบ จึงมีการต้านแรงเสียดทาน แต่รางลูกปืนขนาดเล็กไม่มีซีลจึงไม่มีการต้านแรงเสียดทาน

◎ การเคลื่อนที่แบบหมุนของบอลสปายน์สามารถถ่ายเทแรงบิดเพื่อทำให้เกิดการเคลื่อนที่
เชิงเส้นได้

สินค้าลิเนียร์บุชชิ่ง (Linear Bushing) จาก MISUMI

การเปรียบเทียบการใช้งานระหว่างอุปกรณ์แต่ละชนิด

ความแตกต่างระหว่างลิเนียร์บุชชิ่ง และบุชชิ่งแบบไม่ใช้น้ำมัน

ลิเนียร์บุชชิ่ง บุชชิ่งแบบไม่ใช้น้ำมัน
ลิเนียร์บุชชิ่ง บุชชิ่งแบบไม่ใช้น้ำมัน
ลิเนียร์บุชชิ่ง มีลักษณะการเคลื่อนแบบมีเม็ดลูกปืนหรือลูกกลิ้งที่เป็นตัวสไลด์ จึงไม่มีช่องว่างระหว่างเพลา ส่งผลให้เคลื่อนที่ได้นิ่มนวล บุชชิ่งแบบไม่ใช้น้ำมัน จะมีแรงเสียดทานที่เกิดจากจากการสไลด์ระหว่างเพลา โดยทั่วไปเพลาจะทำหน้าที่รับแรงบริเวณหน้าสัมผัส แล้วเคลื่อนที่แบบสไลด์ เนื่องจากมีช่องว่างระหว่างเพลา จึงทำให้เกิดเสียงดังในขณะทำงาน

ความแตกต่างระหว่างลิเนียร์บุชชิ่ง บอลสปายน์ และรางลูกปืนขนาดเล็ก

ลิเนียร์บุชชิ่ง บอลสปายน์ รางลูกปืนขนาดเล็ก
ลิเนียร์บุชชิ่ง บอลสปายน์ รางลูกปืนขนาดเล็ก
เม็ดลูกปืนกับเพลาจะเคลื่อนที่สัมพันธ์กันแบบสไลด์ ผ่านจุดสัมผัส ที่อยู่ภายในระหว่างบุชชิ่งและเพลา เนื่องจากเม็ดลูกปืนกลิ้งบนร่องเพลาบอลสปายน์ จึงทำให้หน้าสัมผัสระหว่างลูกปืนกับเพลา ช่วยควบคุมความคลาดเคลื่อนในทิศทางการหมุน เม็ดลูกปืนจะเรียงกันในลักษณะสลับฟันปลา ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนน้อยกว่าลิเนียร์บุชชิ่ง

ความแตกต่างระหว่างลิเนียร์บุชชิ่ง และรางสไลด์

ลิเนียร์บุชชิ่ง รางสไลด์
ลิเนียร์บุชชิ่ง รางสไลด์
ลูกปืนและเพลาจะสัมผัสกันด้วยจุดสัมผัสเนื่องจากไม่มีร่องกลิ้ง ทำให้หน้าสัมผัสมีระยะแคบ จึงรับน้ำหนักได้น้อย ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถเคลื่อนที่ขณะรับโหลดได้ ลูกปืนและรางเลื่อนจะสัมผัสกันด้วยหน้าสัมผัส มีร่องสำหรับให้เม็ดลูกปืนกลิ้ง หน้าสัมผัสจึงมีระยะกว้าง ส่งผลให้รับน้ำหนักได้มาก ด้วยเหตุนี้จึงสามารถเคลื่อนที่ขณะรับโหลดได้ดีกว่า
MISUMI 5 Benefit