(!) เนื่องจาก Microsoft จะหยุดให้การสนับสนุนระบบปฏิบัติการ Windows 7 ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2563 และอาจส่งผลให้ผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 ไม่สามารถใช้งานเว็บไซต์มิซูมิได้อย่างสมบูรณ์ กรุณาอัพเดทระบบและบราวเซอร์ตามเงื่อนไขระบบที่รองรับมิซูมิเว็บไซต์
คือ เครื่องมือตัดในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะใช้แรงดันลมเป็นกลไกในการทำงาน โดยจะประกอบด้วยชิ้นส่วนหลักๆ 2 อย่าง คือ
แนวทางในการเลือกใช้ Air Nipper
ตัวเครื่องหรือ Body ของAir Nipper จะสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก โดยอ้างอิงตามรูปร่างของตัวเครื่อง คือ
โดยแต่ละประเภทก็จะสามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานและรูปทรงดังนี้
จะมีให้เลือก 2 ลักษณะตามแกนการสไลด์ คือ
1. แบบ Horizontal (แบบแนวนอน)
2. แบบ Vertical (แบบแนวตั้ง)
ซึ่งความแตกต่างของทั้งสองแบบนี้ คือ ขนาดของตัวเครื่อง ขนาดของพื้นที่ที่จะใช้งาน และลักษณะในการใช้งาน ซึ่งขนาดของตัวเครื่อง
แบบแนวตั้งจะมีขนาดและน้ำหนักที่มากกว่าแบบแนวนอน ส่วนขนาดของ capacity ในการตัด ทั้งสองแบบนี้จะไม่แตกต่างกัน และสิ่งที่ต้อง
ระมัดระวังในการใช้งานคือ ใบมีดสำหรับตัวเครื่องทั้งสองชนิด ไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้ เนื่องจากการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับกลไกภายใน
นอกจากนี้ เรายังสามารถแยกประเภทของ Air Nipper แบบกล่องได้ตามลักษณะของการเคลื่อนที่ ซึ่งมี 4 แบบ คือ
ซึ่ง Air Nipper ในแบบเคลื่อนที่นั้น เราสามารถตั้งค่าระยะในการเคลื่อนที่ได้ 0-3 มม. โดยเราสามารถปรับตั้งค่าได้จากโบลท์ที่ฐานของ Air Nipper
*ข้อแนะนำในการใช้งาน Air Nipper ประเภทนี้ : ความดันลมที่ใช้ในการทำงาน คือ 0.4-0.5 Mpa
ภาพการแยกประเภทของ Air Nipper แบบทรงกล่อง
มีให้เลือก 2 ลักษณะ คือ
1. แบบ Round type (ทรงกระบอกแบบกลม)
2. แบบ Square type (ทรงกระบอกแบบเหลี่ยม)
ในรูปร่างของ Air Nipper แบบทรงกระบอกทั้งสองแบบนั้น ถูกออกแบบมาเพื่อให้ติดตั้งได้ง่าย ตามลักษณะของหน้างาน โดยทั้งสองแบบนี้จะแตกต่างกัน
ตัวจับยึดของตัวเครื่องเท่านั้น นอกจากนี้ข้อดีของ Air Nipper แบบทรงกระบอกคือ สามารถใช้ใบมีดรวมกันได้ และยังให้ capacity ในการตัดที่มากกว่าแบบกล่อง
ใบมีด หรือ Blade คือส่วนประกอบหลักของ Air Nipper ซึ่งส่วนนี้จะเป็นส่วนที่สัมผัสและตัดชิ้นงานโดยตรง ทั่วไปแล้วจะผลิตจากโลหะอัลลอยด์
แต่ในกรณีที่จะต้องตัดพลาสติกที่แข็งเป็นพิเศษจะใช้เหล็กไฮสปีดหรือเหล็กคาร์ไบด์เป็นส่วนประกอบ
ใบมีดหรือ Blade ก็ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 6 ส่วน คือ
พื้นที่ Cutting capacity Ø = πr2
กรณีตัวอย่าง
ขนาดของชิ้นงาน : กว้าง 4 มม. ยาว 4 มม. (ชิ้นงานมีพื้นที่ = 16 ตารางมิลลิเมตร)
ดังนั้น งานชิ้นนี้จะไม่สามารถใช้ใบมีดที่มี Cutting capacity = Ø4 ได้ เนื่องจาก Cutting capacity = Ø4 มีความจุหรือขนาดของพื้นที่ที่สามารถรองรับได้เพียง
12.56 ตารางมิลลิเมตร เท่านั้น ดังนั้นในกรณีนี้ เราจึงควรเลือกใช้ใบมีดที่มีขนาด Cutting capacity = Ø5 แทน (ขนาดความจุและพื้นที่ = 19.625 ตารางมิลลิเมตร)
เนื่องจากมีขนาดใหญ่กว่าพื้นที่หน้าตัดของชิ้นงาน
No | Blade type | Blade name | Application |
---|---|---|---|
1 | AD | Lift blade | ใช้สำหรับตัดเกทประเภท Edge tab/Overlap ที่เข้าด้านล่างเท่านั้น |
2 | AE | Nipping blades | ใช้สำหรับตัดเกทประเภท Edge tab/Overlap ที่เข้าด้านล่างและมีบางส่วนเข้าด้านข้าง |
3 | AH | Crank blades | ใบมีดรูปแบบข้อเหวี่ยงสำหรับตัดชิ้นงานเกทพลาสติกที่มีสิ่งกีดขวางหรือเกทที่แคบ |
4 | AJ | Straight blades | ใบมีดแนวตรงสำหรับตัดเกทพลาสติกที่ทำมุมฉากชิ้นงาน |
5 | AJB | Straight blades | ใบมีดแนวตรงสำหรับตัดเกทพลาสติกที่ทำมุมฉากชิ้นงานโดยมีการเพิ่มความแข็งโดยใช้วัสดุ เป็นคาร์ไบด์ให้เหมาะสำหรับตัดพลาสติกที่แข็งกว่าปกติ |
6 | AJL | Long straight blades | ใช้สำหรับตัดเกทประเภท Edge tab/Overlap ที่เข้าด้านล่างเท่านั้ |
7 | AJT | Thin straight blades | ใช้สำหรับตัดเกทประเภท Edge tab/Overlap ที่เข้าด้านล่างและมีบางส่วนเข้าด้านข้าง |
8 | AJY | Thin straight blades | ใบมีดรูปแบบข้อเหวี่ยงสำหรับตัดชิ้นงานเกทพลาสติกที่มีสิ่งกีดขวางหรือเกทที่แคบ |
9 | AL | L blades for sprue cut | ใบมีดแนวตรงสำหรับตัดเกทพลาสติกที่ทำมุมฉากชิ้นงาน |
10 | AMR | Laterally facing blades | ใบมีดแบบก้ามปู สำหรับตัดเกทพลาสติกที่แคบ และใบมีดแบบตรงยื่นเข้าไปตัดไม่ได้ |
11 | AML | ||
12 | AP | Standard for plastic | ใบมีดแบบมาตรฐาน สำหรับตัดเกทชิ้นงานพลาสติกที่มีรัศมีขนาดใหญ่ตรงเกท |
13 | AS | Standard for steel | ใบมีดแบบมาตรฐาน สำหรับตัดลวดทองแดงและเหล็ก |
14 | BJ | Straight blades(metals) | ใบมีดแนวตรงสำหรับตัดลวดเหล็ก |
15 | LAP | Long standard for plastic | ใบมีดทรงมาตรฐานแต่ใบมีดยาวกว่าปกติ สำหรับตัดเกทชิ้นงานพลาสติกที่มีรัศมีขนาดใหญ่ตรงเกท |
16 | LAS | Long standard for steel | ใบมีดทรงมาตรฐานแต่ใบมีดยาวกว่าปกติ สำหรับตัดเกทชิ้นงานลวดเหล็ก |
17 | RAH | Crank blades | ใบมีดรูปแบบข้อเหวี่ยงอีกชนิดหนึ่ง มีลักษณะตรงกันข้างกับแบบ AH สำหรับตัดชิ้นงานเกท พลาสติกที่มีสิ่งกีดขวางหรือเกทที่แคบ |
18 | RAJ | Straight blades | ใบมีดแนวตรงสำหรับตัดเกทพลาสติกที่ทำมุมฉากชิ้นงาน อีกชนิดหนึ่ง มีลักษณะตรงกันข้างกับแบบ AJ |
Side หรือ Edge gate
ใบมีดแบบ AJ เหมาะกับ Side edge gate ทั่วไป ที่ไม่มีผนังยื่นลงมาหรือมีพื้นที่เพียงพอในการตัดหากในกรณีที่มีพื้นที่ในการตัดแคบ ควรเลือกใช้แบบ AJL ซึ่ง
จะมีใบมีดที่ยาวกว่า แต่ถ้ามีผนังของชิ้นงานมาบังยังสามารถเลือกใช้ แบบ AP หรือ AH/RAH ได้ตามความเหมาะสม
Sprue gate
ในกรณีที่ชิ้นงานเป็นแบบ sprue gate สามารถเลือกใช้ใบมีดแบบ AP/AH/RAH ได้
Tap / Overlap gate
ในกรณีที่เป็นแบบ Tap/Overlap gate ต้องพิจารณาให้ดีว่า เกทที่ต้องการตัดนั้นเป็นเกทที่อยู่ด้านล่างเพียงอย่างเดียว หรือมีขยับเข้ามาทางด้านข้างด้วยหากเป็นเกท
ที่มีเข้ามาทางด้านล่างอย่างเดียวควรเลือกใช้ใบมีด แบบ AE แต่หากถ้าเข้าทั้งสองด้านให้เลือกใช้แบบ AD
Fan gate
กรณีที่เป็น Fan gate หรือ เกทแบบใบพัด เนื่องจากชิ้นงานเป็นเกทที่มีลักษณะบางและยาว จึงแนะนำให้ใช้ใบมีดแบบ AML/AMR ตามลักษณะของชิ้นงานนั้นๆ
ซึ่งข้อควรระวังของใบมีดแบบ AML/AMR คือใบมีดประเภทนี้จะสามารถตัดได้เฉพาะเกทที่มีลักษณะตรงเท่านั้น ถ้าชิ้นงานเป็นแบบโค้งรอยตัดที่ได้อาจจะไม่เนียนตามชิ้นงาน
Film gate
กรณีที่เป็นแบบ Film gate แนะนำให้ใช้ใบมีดแบบ AML/AMR แต่ต้องพิจารณาความยาวของ Film gate ว่าน้อยกว่าระยะการทำงานของใบมีดหรือไม่ ถ้าหากมากกว่า จะทำให้ไม่สามารถตัดได้ในครั้งเดียว
เราสามารถเลือกใช้ใบมีดให้เข้ากับตัวเครื่องได้ โดยสามารถดูได้จากลักษณะของด้ามใบมีดตามรูปภาพด้านล่าง
Heater Air nippers
เป็น Air Nipper แบบพิเศษที่สามารถความคุมความเร็วในการตัดและอุณหภูมิเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานที่หลากหลาย และยังมีความแม่นยำในการตัดสูงกว่าปกติ
ซึ่ง Air nipper ตัวนี้ จะมีการติดตั้งเครื่องให้ความร้อนไว้ที่ใบมีด เพื่อช่วยในการตัดและป้องกันการร้าวหรือรอยขาวของวัสดุที่มีสีใส เช่น วัสดุจำพวกอะคิลิค เป็นต้น
นอกจากนี้ใบมีดยังสามารถควบคุมความเร็ว เพื่อให้ผิวที่ตัดออกมาเรียบร้อยและไม่มีข้อบกพร่องอีกด้วย
Heat air nipper blade (MNTH05AJ/10AJ)
ใบมีดตัดแบบทำความร้อน รุ่น MNTH05AJ/10AJ
Sliding air nippers bracket type
Air Nipper ที่ติดตั้งมาพร้อมกับตัวจับยึดชนิดพิเศษ ที่จะช่วยให้การเคลื่อนที่
ของ Air Nipper มีความราบรื่นและต่อเนื่อง เหมาะกับการตัดเกทที่มีขนาดใหญ่
ซึ่งจะเกิดแรงสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงขณะตัดชิ้นงาน
ลิเนียร์บุชชิ่ง