(!) เนื่องจาก Microsoft จะหยุดให้การสนับสนุนระบบปฏิบัติการ Windows 7 ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2563 และอาจส่งผลให้ผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 ไม่สามารถใช้งานเว็บไซต์มิซูมิได้อย่างสมบูรณ์ กรุณาอัพเดทระบบและบราวเซอร์ตามเงื่อนไขระบบที่รองรับมิซูมิเว็บไซต์

  • Notice of End of Sales for Economy Series Pneumatic Equipment Category. More information.
  • แจ้งวันหยุดทำการในเดือน กรกฎาคมและสิงหาคม 2567 | Notice holiday in July and August 2024 > คลิก

Technical Zone Selection Guide

ค้อน (Hammer)

ค้อน เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่สำคัญสำหรับงานช่างสำหรับงานเคาะ งานตี งานทุบ และงานตอก ด้วยการใช้งานได้อย่างหลากหลาย สามารถจำแนกประเภทได้ตาม
รูปทรงของหัวค้อน วัสดุ น้ำหนัก และการใช้งาน เช่น ค้อนยาง ค้อนพลาสติก ค้อนไร้แรงกระแทก ค้อนหงอน เป็นต้น ดังนั้นเราจำเป็นจะต้องเลือกใช้ค้อนให้เหมาะสมกับ
งานในส่วนของการบำรุงรักษาค้อนนั้น ก็มีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานและรักษาประสิทธิภาพในขณะการใช้งานและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการ
ชำรุดของค้อนในขณะใช้งานอีกด้วย

ขั้นตอนแนะนำในการเลือกค้อนจาก MISUMI

เลือกขนาดหัวค้อน

1. เลือกขนาดหัวค้อน

รูปทรงของหัวค้อนโดยทั่วไปมี 2 ชนิด ได้แก่ ทรงกลม หรือทรงแปดเหลี่ยม สำหรับทรงกลมจะมีรุ่นที่มีแหวนโลหะด้วย
เส้นผ่านศูนย์กลางผิวหน้าค้อนคือพื้นที่บริเวณที่จะใช้ทุบ ดังนั้น การเลือกใช้ค้อนที่มีขนาดที่เหมาะสมกับชิ้นงาน
หรือเลือกใช้ค้อนที่มีขนาดใหญ่กว่าชิ้นงานเพียงเล็กน้อยจะดีกว่าเลือกใช้ค้อนที่มีขนาดเล็กกว่าชิ้นงาน

เลือกความยาวค้อน

2. เลือกความยาวค้อน

สำหรับความยาวของตัวค้อนก็มีผลต่อการตอก ในการใช้งานด้ามค้อนขนาดสั้น ก็จะทำให้แรงกระแทกมีน้อยซึ่งเหมาะ
กับงานตอกเบา ส่วนด้ามจับที่มีขนาดยาวพอดี ก็จะสามารถตอกงานหนักได้ดีเช่นกัน

ตอกเบา

ตอกเบา

ตอกหนัก

ตอกหนัก

เลือกวัสดุหัวค้อน

3. เลือกวัสดุหัวค้อน

หัวค้อนถือเป็นชิ้นส่วนหลักของการเลือกค้อน เวลาเลือกค้อนให้สังเกตน้ำหนักของหัวค้อนเป็นหลัก ต้องไม่หนักหรือ
เบาเกินไป จะต้องทำจากวัสดุอย่างดี และเลือกใช้ให้เหมาะกับงาน

  1. 1.วัสดุโลหะ มีความแข็งแรง มีน้ำหนัก สามารถใช้สำหรับงานหนักๆได้ เหมาะสำหรับงานก่อสร้างและงาน
    ซ่อมบำรุงทั่วไป
  2. 2.วัสดุพลาสติก หัวค้อนทำจากพลาสติกแข็ง เมื่อหัวค้อนเกิดความเสียหายหรือแตก สามารถถอดเปลี่ยนใหม่ได้
  3. 3.วัสดุยาง คุณสมบัติเหนียวและนุ่ม เหมาะสำหรับใช้สำหรับชิ้นงานที่มีเนื้ออ่อน หรือชิ้นงานที่ง่ายต่อการเสียหาย
    เพื่อช่วยในการรักษาผิวงานนั้นๆ
  4. 4.วัสดุไม้  นิยมใช้ไม้เนื้อแข็ง ที่มีลักษณะเป็นแท่งกลม หรือแท่งแปดเหลี่ยม
เลือกวัสดุด้ามจับค้อน

4. เลือกวัสดุด้ามจับค้อน

ด้ามจับค้อน เป็นส่วนที่สัมผัสกับผู้ใช้งานโดยตรง การเลือกให้เหมาะสมกับงานจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อความ
ปลอดภัยในการปฏิบัติงานอีกด้วย โดยส่วนมากด้ามจับค้อนนิยมทำมาจากวัสดุ 3 ประเภท

  1. 1.ด้ามเหล็ก จะมีความแข็งแรง ทนทาน และสามารถช่วยเพิ่มแรงกระทำเนื่องจากด้ามเหล็กจะมีน้ำหนักที่มากกว่า
    ด้ามค้อนประเภทอื่น แต่ก็ไม่สามารถดูดซับแรงสั่นสะเทือนได้มากนัก
  2. 2.ด้ามไม้ สามารถลดแรงกระแทกได้ดี ราคาถูก แต่อาจจะมีปัญหาในระยะยาว เนื่องจากความชื้น อาจส่งผลให้
    ด้ามไม้มีการบวมหรือหดตัวของไม้ ทำให้เกิดความเสียหายในส่วนของเนื้อไม้หรือหัวค้อนหลวมนั่นเอง
  3. 3.ด้ามพลาสติกหรือไฟเบอร์กลาส จะมีน้ำหนักเบา ทำให้การกระจายแรงไม่สม่ำเสมอ ดูดซับแรงกระแทกได้น้อย

Tips & Tricks

หมั่นตรวจสอบหรือเช็คสภาพเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา หากพบว่าอุปกรณ์ดังกล่าวชำรุด ควรซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ ไม่ควรนำมาใช้งานในขณะที่อุปกรณ์ชำรุดเสียหาย เพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้งาน

ลักษณะของค้อนประเภทต่างๆ

ค้อนหงอน

ค้อนอเนกประสงค์ มีหัว 2 ลักษณะ คือ ลักษณะกลมแบนสำหรับตอก และลักษณะหัวโค้งมีร่องสำหรับถอนตะปู นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในงานซ่อมบำรุง

ค้อนหัวกลม

ค้อนมาตรฐานทั่วไป สำหรับใช้ภายในโรงงาน และใช้สำหรับงานช่างเหล็กทั่วไป

ค้อนไม้

เป็นค้อนที่ทำมาจากไม้ทั้งหมด นิยมนำมาใช้ในงานเบาๆ เพื่อไม่ให้เกิดรอยหรือความเสียหายบนชิ้นงาน

ค้อนเดินสายไฟ

มีลักษณะคล้ายค้อนหงอนทั่วไป แต่ขนาดเล็กกว่า นิยมใช้ในงานช่างไฟฟ้า สำหรับงานตอกตะปูตัวเล็กๆ ในการเดินสายไฟ

ค้อนยาง

ค้อนสำหรับงานเบา เหมาะสำหรับใช้ในงานประกอบผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้ เช่น เฟอร์นิเจอร์ แผ่นเหล็กบาง กระเบื้อง ฯลฯ

ค้อนพลาสติก

ค้อนพลาสติกมีหลายชนิด ทั้งรุ่นที่ใช้สำหรับประกอบงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ ตลอดจนรุ่นที่มีแรงทุบสูงสำหรับโรงงานแม่พิมพ์

ค้อนและการดูแลรักษา

เลือกขนาดหัวค้อน
  1. 1.ควรเลือกชนิดของค้อนให้เหมาะกับงานที่ต้องการใช้
  2. 2.ก่อนและหลังใช้งานควรตรวจความแข็งแรงและความแน่นของหัวค้อนกับด้ามจับ เพื่อป้องกันอันตราย
    ขณะใช้งาน
  3. 3.เมื่อใช้งานเสร็จควรเช็ดทำความสะอาด แล้วทาน้ำมันที่หัวค้อนเพื่อป้องกันสนิม และเก็บรักษาใน
    กล่องเครื่องมือให้เรียบร้อย
« หัวข้อก่อนหน้า

ไขควง (Grip Screwdriver)

หัวข้อถัดไป »

ลิเนียร์บุชชิ่ง

MISUMI 5 Benefit