(!) เนื่องจาก Microsoft จะหยุดให้การสนับสนุนระบบปฏิบัติการ Windows 7 ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2563 และอาจส่งผลให้ผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 ไม่สามารถใช้งานเว็บไซต์มิซูมิได้อย่างสมบูรณ์ กรุณาอัพเดทระบบและบราวเซอร์ตามเงื่อนไขระบบที่รองรับมิซูมิเว็บไซต์

  • แจ้งวันหยุดซัพพลายเออร์ในเดือนมกราคมและวันหยุดทำการมิซูมิในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ​ Notice Chinese New Year Holiday in January and MISUMI's in February 2025 > คลิก
  • การยกเลิกจำหน่ายสินค้าประเภทอุปกรณ์นิวเมติกส์ (Pneumatic equipment) รุ่น “Economy Series” ​| Notice of End of Sales for Economy Series Pneumatic Equipment Category > คลิก

อุปกรณ์การป้องกันไฟฟ้าสถิต

อุปกรณ์การป้องกันไฟฟ้าสถิต

ไฟฟ้าสถิตและอุปกรณ์สำหรับการป้องกัน

ไฟฟ้าสถิตเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ไฟฟ้าสถิต คือ ประจุไฟฟ้าส่วนเกินที่เกิดขึ้นจากความไม่สมดุลระหว่างประจุบวกและประจุลบของวัตถุ โดยทั่วไปจะเกิดจากวัตถุเคลื่อนที่สัมผัสกัน เช่น การเสียดสีกันระหว่างวัตถุสองชิ้น ไฟฟ้าสถิตสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในวัตถุที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ทั้งในสถานะของเหลว ของแข็ง และ ก๊าซ โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นจาก
a) การสัมผัส การแยกตัว b) การไหลของของเหลว c) การชนกันของของแข็ง d) ประจุไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ฯลฯ

a) เกิดจากการสัมผัส และการแยกตัว

เกิดจากการสัมผัส และการแยกตัว

b) การไหลของของเหลว

การไหลของของเหลว

c) การชนกันของของแข็ง

การชนกันของของแข็ง

d) ประจุไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ฯลฯ

ประจุไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ฯลฯ

ประจุไฟฟ้าที่เกิดการเสียดสีหรือประจุไฟฟ้าอิสระที่หลุดออกมาจะทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตแบบ a) เกิดขึ้นจากการสัมผัส และการแยกตัว เป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อนำวัตถุ
แต่ละชนิดมาเสียดสีกันจะเกิดการแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าได้ไม่เท่ากัน โดยลำดับความยากง่ายในการแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าบวกและลบของวัตถุต่าง ๆ เรียกว่า
ลำดับประจุไฟฟ้า (Triboelectric Series)

ความเสียหายที่เกิดจากการปลดปล่อยหรือการนำประจุไฟฟ้า

ความเสียหายที่เกิดจากการปลดปล่อยหรือการนำประจุไฟฟ้า

การระเบิด ไฟไหม้ ไฟดูด ความเสียหายบนสารกึ่งตัวนำ
ข้อบกพร่องในงานทำสีหรือการพิมพ์

ความเสียหายที่เกิดจากแรงคูลอมบ์ (พลังงานไฟฟ้าสถิต)

ความเสียหายที่เกิดจากแรงคูลอมบ์ (พลังงานไฟฟ้าสถิต)

การเกาะติดของสิ่งแปลกปลอม เช่น เศษงานเชื่อม
 

การจัดการไฟฟ้าสถิตในโรงงานอุตสาหกรรม

ทุกอุตสาหกรรม จำเป็นต้องใช้มาตรการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดไฟฟ้าสถิต และไม่เกิดประจุไฟฟ้าหรือการถ่ายเทประจุไฟฟ้า พร้อมทั้งไม่ให้เกิดการเหนี่ยวนำทางไฟฟ้า เราลองมาดูกันว่าโดยทั่วไปสามารถใช้วิธีการใดได้บ้าง

สายดิน

สายดินเป็นการจัดการแบบพื้นฐานที่สุด เหมาะสำหรับตัวนำไฟฟ้า เช่น โลหะ เป็นการถ่ายเทประจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการเสียดสีให้ไหลลงสู่พื้นโลกอย่างรวดเร็ว วิธีนี้สามารถทำให้ประจุไฟฟ้าที่สะสมบนวัตถุกลายเป็นศูนย์ และทำให้ความต่างศักย์ระหว่างวัตถุกับพื้นโลกกลายเป็นศูนย์ได้

การป้องกันการถ่ายเทประจุไฟฟ้าด้วยฉนวนไฟฟ้า

วัสดุที่มีความต้านทานไฟฟ้าสูง เช่น ยาง หรือพลาสติก ถูกจัดเป็น ฉนวนไฟฟ้า ซึ่งช่วยให้ไฟฟ้าสถิตเกิดการเคลื่อนย้ายได้ยาก และถึงแม้ว่าจะมีการต่อสายดินก็ไม่เกิดการถ่ายเทประจุไฟฟ้า

การป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตยังสามารถทำควบคู่ไปกับการคลายประจุเพื่อลดทอนความนำไฟฟ้าหรือการถ่ายเทไฟฟ้าไปยังฉนวนไฟฟ้า การเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ให้สภาพแวดล้อม ฯลฯ เป็นต้น

(1) มาตรการป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิต

การลดพื้นที่และแรงดันของการสัมผัสให้น้อยลง การลดจำนวนการสัมผัส การลดความเร็วในการสัมผัสและแยกตัว การป้องกันการแยกตัวอย่างรวดเร็ว การทำความสะอาดและปรับสภาพพื้นผิวให้ลื่น ฯลฯ

มาตรการป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิต

(2) ตัวนำที่เป็นฉนวนไฟฟ้า

การทำให้พื้นผิวนำไฟฟ้า ได้แก่

- การเพิ่มสารป้องกันไฟฟ้าสถิต
- การชุบเคลือบหรือทาสีพื้นผิว

สำหรับการเพิ่มความนำไฟฟ้าภายในชิ้นงาน ใช้วิธีการผสมสารโลหะ หรือ คาร์บอนสีดำ และพอลิเมอร์ที่นำไฟฟ้า

(3) การคลายประจุ

ถ้าให้ไอออนขั้วตรงข้ามกับประจุไฟฟ้า อยู่ใกล้กับวัตถุที่มีประจุไอออน

การคลายประจุ

ไอออนนี้ จะถูกดูดประจุไฟฟ้าโดยแรงคูลอมบ์
(ไฟฟ้าสถิต) กล่าวคือเกิดการคลายประจุไฟฟ้า
ขึ้นนั่นเอง โดยทั่วไป มีการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า
ไอออไนซ์เซอร์ ซึ่งช่วยสร้างและเพิ่มไอออน
ในอากาศสำหรับการกำจัดไฟฟ้าสถิตโดยวิธี
การปล่อยประจุแบบโคโรน่า

(4) การเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์

ฉนวนไฟฟ้าหลายตัวสามารถป้องกันไฟฟ้าสถิตได้โดยการเพิ่ม
ความชื้นสัมพัทธ์ (ความชื้น) ให้แก่สภาพแวดล้อม เมื่อมีความชื้นในสิ่ง

การเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์

แวดล้อมสูง การเคลื่อนที่เนื่องจากความร้อน ทำให้ปริมาณของไอน้ำที่เข้าชนและดูดจับ วัตถุเพิ่มขึ้น เกิดเป็นชั้นโมเลกุลของน้ำบน พื้นผิวของวัตถุ ทำให้ความต้านทานกระแส ไฟฟ้าบริเวณพื้นผิวลดลงและช่วยยับยั้งการ ถ่ายเทประจุไฟฟ้า

อุปกรณ์การป้องกันไฟฟ้าสถิต

การเลือกอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าสถิตจาก MISUMI ให้เหมาะสมกับงาน

บริเวณพื้นที่ใช้งาน

บริเวณพื้นที่ใช้งาน

สำหรับพื้นที่ในโรงงานอุตสาหกรรมที่จะเป็นบริเวณที่ต้องป้องกันไฟฟ้าสถิต อาจจะมีมากกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ คือ เป็นพื้นที่ทางผ่านระหว่างเส้นทางในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆที่ไวต่อการเกิดไฟฟ้าสถิต โดยอาจเริ่มตั้งแต่การเริ่มต้นจนกระทั่งสิ้นสุดกระบวนการผลิตหรือกระบวนการขนส่ง ออกนอกโรงงาน เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะส่งผลต่อคุณภาพในการผลิต เช่น โรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า โรงงานประกอบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

พัดลม (Ionizer: Fan Type)

ภาพจำลองการติดตั้งอุปกรณ์พัดลม (Ionizer: Fan Type)

ภาพจำลองการติดตั้งอุปกรณ์พัดลม (Ionizer: Fan Type)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิต ทำหน้าที่กำจัดฝุ่นออกจากผู้ปฏิบัติงานหรือชิ้นงาน โดยวิธีการ Ionizer การใช้พัดลมที่มีกำลังสูง มีขนาดเล็กกะทัดรัด จะสามารถป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตในพื้นที่กว้างได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยทั่วไปอุปกรณ์ดังกล่าวจะติดตั้งไว้ตรงตำแหน่งก่อนที่ปัญหาไฟฟ้าสถิตจะเกิดขึ้น เช่น ลูกกลิ้งเหล็ก เครื่องป้อนชิ้นงาน เป็นต้น

หัวฉีด (Ionizer: Nozzle Type)

หัวฉีด (Ionizer: Nozzle Type)

นิยมนำมาใช้งาน เพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิต ด้วยกระบวนการ Ionizer ในบริเวณที่มีพื้นที่จำกัดมากๆหรือเฉพาะจุด เช่น การป้องกันไฟฟ้าสถิตบริเวณแกนหมุนเครื่องผลิตกระดาษ การป้องกันไฟฟ้าสถิตภายในแม่พิมพ์ของเครื่องหล่อชิ้นงาน เป็นต้น มีหัวต่อเสริมเพื่อการใช้งานที่สะดวกมากขึ้น เป็นหัวต่อประเภทท่ออ่อนและท่อโลหะชนิดกระจายลม ถือว่าเป็นหัวฉีดอเนกประสงค์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ แม้จะมีโครงสร้างที่มีขนาดเล็ก แต่หัวฉีดประเภทนี้ สามารถป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

แผ่นยางรอง / แผ่นกราวด์

แผ่นยางรอง / แผ่นกราวด์

มีลักษณะเป็นแผ่นบาง มีความยืดหยุ่นสูง นิยมใช้สำหรับป้องกันอุปกรณ์ที่มีความไวต่อ
การเกิดไฟฟ้าสถิต เนื่องจากคุณสมบัติการป้องกันและช่วยถ่ายเทประจุจากชิ้นงานหรือวัสดุ
ที่อยู่บนโต๊ะลงสู่กราวด์ โดยการทำงานของแผ่นกราวด์ (SUS304) หรือแผ่นยางรองนั้น
ส่วนด้านบนของอุปกรณ์จะมีหลักการทำงานที่เรียกว่า Static Dissipative คือการทำให้พื้นที่
บริเวณนั้นๆ ปลอดจากกระแสไฟฟ้าที่พื้นผิว ส่วนด้านล่างจะเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าที่ช่วยให้ปริมาณกระแสไฟฟ้าลดลง เพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิต

แปรงป้องกันไฟฟ้าสถิต

แปรงป้องกันไฟฟ้าสถิต

เป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย เนื่องจากการใช้งานง่ายและราคาถูก เป็นแปรงที่ถูกออกแบบมา เพื่อตอบโจทย์การใช้งานเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิต นิยมใช้ในงานระบบอัตโนมัติ และงานพื้นฐานทั่วไป เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องบรรจุภัณฑ์ เครื่องตรวจจับเงิน หรือบริเวณลูกกลิ้งที่มีความเสียดทาน โดยสามารถทำการคลายประจุฟ้าได้อย่างดีเยี่ยม และยังสามารถทำความสะอาดฝุ่นได้ดีอีกด้วย

เทปกาว

เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันไฟฟ้าสถิตในบริเวณที่มีพื้นที่จำกัด และมีลักษณะเป็นพื้นเรียบ นิยมใช้งานโดยการติดขอบโต๊ะหรือช่องว่างระหว่างเครื่องจักร เพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิต เนื่องจากมีการใช้งานง่าย และสามารถประยุกต์ใช้งานตามความต้องการ เช่น เทปฟอยล์ทองแดงนำไฟฟ้า เทปกำจัดไฟฟ้าสถิต เป็นต้น

พนักงานและเครื่องมือเครื่องใช้

พนักงานและเครื่องมือเครื่องใช้

ในหลายๆพื้นที่ทำงาน พนักงานก็เป็นต้นเหตุสำคัญที่กำเนิดไฟฟ้าสถิตได้ เพราะการเดินบนพื้นที่ไม่เหมาะสมก็ส่งผลให้เกิดการสร้างประจุไฟฟ้าบนตัวของพนักงาน และหากไม่มีการควบคุมที่เหมาะสม ก็จะเกิดการถ่ายประจุจากตัวพนักงานนั้นลงสู่ชิ้นงานและเกิดความเสียหายได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น การเลือกใช้อุปกรณ์ต่างๆก็จะช่วยลดปัญหาการเกิดไฟฟ้าสถิตที่อาจเกิดจากตัวผู้ปฏิบัติงานหรือเครื่องมือต่างๆได้

รองเท้าเซฟตี้

รองเท้าเซฟตี้ หรือรองเท้าเพื่อความปลอดภัย ในบางครั้งถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันการสะสมของประจุไฟฟ้า เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานจะสัมผัสกับพื้น โดยรองเท้าเซฟตี้จะมีการนำไฟฟ้าที่ดี ในบางรุ่นยังสามารถทนน้ำมัน สารเคมี ความร้อน และกันลื่นได้ดี เหมาะสมสำหรับการทำงานในที่พื้นที่แห้ง และยังช่วยถ่ายเทไฟฟ้าสถิตระหว่างผู้ปฏิบัติงานลงสู่พื้นได้อย่างดีเยี่ยม

โฟมป้องกันไฟฟ้าสถิต

แปรงป้องกันไฟฟ้าสถิต

มีลักษณะเป็นแผ่นโฟมขนาดใหญ่ สามารถตัดแต่งตามขนาดให้มีความเหมาะสมตามความต้องการในการนำไปใช้งาน ทนต่อการกัดกร่อน และทนต่ออุณหภูมิสูง มีความยืดหยุ่น และทนทานต่อการเจาะทะลุได้เป็นอย่างดี สำหรับโฟมป้องกันไฟฟ้าสถิตนี้ นิยมใช้ในการรองรับชิ้นงานต่างๆ เช่น กล่องบรรจุภัณฑ์สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ หรือเครื่องจักรต่างๆ เป็นต้น เพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิตในการขนย้าย

ลูกยางรองแท่น

แปรงป้องกันไฟฟ้าสถิต

ลูกยางรองแท่น อุปกรณ์ที่ใช้รองแท่นเครื่องจักร หรือชิ้นงานขนาดใหญ่ เพื่อลดแรงสั่นสะเทือน และยังสามารถลดการเกิดไฟฟ้าสถิตได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับการนำไปใช้งานกับอุตสาหกรรมทุกประเภท มีให้เลือกใช้งานอย่างหลากหลาย

« หัวข้อก่อนหน้า
Injection Screw และ Screw Head
หัวข้อถัดไป »
ด้ามจับ สำหรับงานอุตสาหกรรม
MISUMI 5 Benefit

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม?

customer service

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือปรึกษาเรื่องเวลารับคำสั่งซื้อและกำหนดส่ง
ติดต่อฝ่าย Customer Service
โทร.038-959-200 กด 1 หรือ อีเมล cs@misumi.co.th