(!) เนื่องจาก Microsoft จะหยุดให้การสนับสนุนระบบปฏิบัติการ Windows 7 ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2563 และอาจส่งผลให้ผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 ไม่สามารถใช้งานเว็บไซต์มิซูมิได้อย่างสมบูรณ์ กรุณาอัพเดทระบบและบราวเซอร์ตามเงื่อนไขระบบที่รองรับมิซูมิเว็บไซต์

  • แจ้งวันหยุดทำการในเดือนธันวาคม 2567 และวันหยุดทำการเทศกาลปีใหม่ 2568 | Notice holiday in December 2024 and New Year Holiday 2025 > คลิก
  • การยกเลิกจำหน่ายสินค้าประเภทอุปกรณ์นิวเมติกส์ (Pneumatic equipment) รุ่น “Economy Series” ​| Notice of End of Sales for Economy Series Pneumatic Equipment Category > คลิก

แผ่นระบายอากาศ

การระบายอากาศในแม่พิมพ์พลาสติกด้วย Porous Vent (แผ่นระบายอากาศ)

ในการฉีดงานขึ้นรูปพลาสติก หลายๆคนอาจพบปัญหาชิ้นงานมีร่องอากาศ,ฉีดไม่เต็ม, ฟองอากาศ, มีรอยเชื่อมประสาน, เสียรูป, เกิดรอยไหม้ หรือผิวงานไม่เรียบสม่ำเสมอ ซึ่งสาเหตุหลักอย่างหนึ่งของการเกิดข้อบกพร่องข้างต้นคือ การระบายอากาศในแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกที่ไม่ดีพอ หรือเป็นจุดที่ไม่สามารถเปิดร่องระบายอากาศได้ จึงทำให้ชิ้นงานเกิดความเสียหาย

โดยปกติแล้ว ในขั้นตอนการฉีดงานพลาสติก พลาสติกเหลวจะถูกฉีดเข้าไปในแม่พิมพ์โดยจะไหลผ่านทางเข้าไปสู่ส่วนของชิ้นงาน ตามที่เรากำหนดไว้ ซึ่งในแม่พิมพ์นั้นมีอากาศอยู่ด้วย ซึ่งหากอากาศเหล่านี้ ไม่สามารถระบายออกจากแม่พิมพ์ได้ อย่างเพียงพอ จะทำให้พลาสติกเหลวเหล่านี้ ถูกกีดขวางโดยอากาศ ทำให้สภาวะการไหลที่ผิดปกติ หรือเกิดความร้อนสูง จนเกิดข้อบกพร่องของชิ้นงานตามที่กล่าวมาข้างต้นได้

นอกจากนี้ในบางกรณีอากาศหรือแก๊ส อาจเกิดจากชนิดหรือประเภทของพลาสติกเอง ซึ่งจะทำให้ปริมาตรอากาศหรือที่อยู่ในโพรงฉีดชิ้นงานมีมากกว่าปกติ ทำให้การเปิดช่องระบายอากาศ ตามปกติไม่เพียงพอ จนทำให้เกิดข้อบกพร่องต่างๆตามมา

การแก้ไขปัญหา

โดยวิธีแก้ไขปัญหาชิ้นงานเกิดข้อบกพร่อง จากการระบายอากาศได้ไม่ดีพอ คือ การเลือกใช้ Porous Vent จากมิซูมิ ในการช่วยระบายแก๊สหรืออากาศที่หลงเหลืออยู่ในแม่พิมพ์

ลักษณะของ Porous Vent

ลักษณะของ Porous Vent
  • Porous Vent เป็นบล็อกโลหะที่ใช้ในการช่วยระบายอากาศในแม่พิมพ์พลาสติก
  • ตัวสินค้ามีลักษณะโครงสร้างเป็นรูพรุนและทำจากสแตนเลสเทียบเท่า SUS304
  • สามารถช่วยระบายก๊าซออกได้รอบด้าน ทำให้เหมาะกับแม่พิมพ์สำหรับการขึ้นรูปชิ้นงานที่มีรูปร่างซับซ้อน
  • สามารถปรับขนาดของ Porous Vent ได้โดยใช้เลเซอร์หรือเครื่องจักรในการกลึงขึ้นรูป
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับพื้นผิวของแม่พิมพ์

การใช้งาน Porous Vent

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าขนาดของPorous Vent ไม่หนาจนเกินไป เพื่อความปลอดภัยในการระบายอากาศ สามารถตัดพื้นที่ที่หนาเกินไปออกได้
  • ควรทำ Grinding เพื่อหลีกเลี่ยงการระบายอากาศบนพื้นผิว ที่นอกเหนือจากการปล่อยแก๊ส
  • สำหรับระบบความเย็น ควรใช้ท่อแลกเปลี่ยนความร้อน (WHP) เพื่อหลีกเลี่ยงให้น้ำหล่อเย็นไหลผ่านรูน้ำโดยตรงในกรณีที่น้ำรั่ว ซึ่งในกรณีดังกล่าวจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้จารบีนำความร้อน (MTJ) ระหว่าง Porous Vent และระบบความเย็น
  • ควรบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ โดยสามารถดูวิธีการบำรุงรักษาได้ที่ >>2018_msm_gasventing_0007-02 (PDF / 480KB)
  • หลีกเลี่ยงการติดตั้งเข็มกระทุ้ง (Ejector Pin) , Fixing Pins หรือ ชิ้นส่วนของ Insert เข้าไปใน Porous Vent เนื่องจากอาจทำให้ประสิทธิภาพของการระบายแก๊ส และอากาศ ลดน้อยลง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ชิ้นงานเกิดความเสียหายได้
  • ควรหลีกเลี่ยงการเก็บ Porous ไว้ในคลังที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูง เนื่องจากอาจทำให้เป็นสนิมได้
  • สามารถเคลือบกันสนิมได้ตามปกติ

การติดตั้ง Porous Vent

การติดตั้ง Porous Vent
  1. 1.ขึ้นรูป Porous Vent ให้เหมาะสมและพอดีกับพื้นที่ของแม่พิมพ์ที่จะติดตั้ง
  2. 2.สร้างรูและช่องระบายก๊าซในแม่พิมพ์ และทำความสะอาดด้วยการเป่าลมเข้าไป หลังจากนั้นตรวจสอบให้มั่นใจอีกครั้งว่าไม่มีฝุ่นผงหรือสิ่งอื่นๆหลงเหลืออยู่ภายใน เพราะอาจจะทำให้เกิดการอุดตันได้
  3. 3.หากจำเป็นต้องเคาะหรือสัมผัสกับ Porous Vent ในระหว่างการติดตั้ง ควรใช้แผ่นกันกระแทกเพื่อป้องกันการยุบตัวของช่องระบายอากาศ
  4. 4.ในการตรวจสอบการระบายอากาศ ควรใช้ Acetone หรือแอลกอฮอล์ บนพื้นผิวของแม่พิมพ์ และเป่าลมจากอีกด้านเข้ามาหากมีฟองเกิดขึ้นบนพื้นผิวแสดงว่า Porous Vent สามารถใช้งานได้ปกติ และไม่มีสิ่งอุดตัน

ตัวอย่างการใช้งานในแม่พิมพ์

ตัวอย่างการใช้งานในแม่พิมพ์
  • สินค้า : Plastic Case
  • Resin : PP
  • Application effects: Eliminates short shots between ribs and vertical walls

ตัวอย่างการใช้เครื่องจักรในการตัดขึ้นรูป POROUS VENT

(ควรตรวจสอบเครื่องจักรในการตัดขึ้นรูปของก่อนการใช้งานเนื่องจากเครื่องจักรแต่ละประเภทมีความแตกต่างตามลักษณะการใช้งาน)

ตารางที่ 1 : การใช้ NC Milling ในการตัดขึ้นรูป POROUS VENT

ตารางที่ 1

Required Tools

  • Material: Carbide + AlTiN coating
  • Type: 4-flute radius R3
  • วัสดุที่สามารถใช้งานได้: Stainless steel (M grade)

ตารางที่ 2 : การใช้เลเซอร์ ในการตัดขึ้นรูป POROUS VENT
(ความลึก 0.01 mm.)

ตารางที่ 2

* โปรดระวัง หาก Laser output แรงเกินไป อาจทำให้พื้นผิวงานอาจจะเสียหายได้

การดูแลรักษา POROUS VENT หลังการตัดขึ้นรูป

การระบายน้ำมัน

การระบายน้ำมันออกในกรณีที่ใช้เครื่องจักรสำหรับกัด ขึ้นรูป POROUS VENT รวมไปถึงการใช้ Wire Cutting , NC milling เนื่องจากหากมีน้ำมันอยู่บนผิวของงาน อากาศทำให้การระบายอากาศ ไม่มีประสิทธิภาพที่เพียงพอ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดสนิมได้อีกด้วย ซึ่งสามารถดูความแตกต่างของประสิทธิภาพในการระบายอากาศบนพื้นผิวที่มีน้ำมันและไม่มีน้ำมันได้ตาตารางด้านล่าง

ตารางที่ 3 : เปรียบเทียบการระบายอากาศหลังการตัดขึ้นรูปที่พื้นผิวมีน้ำมันและไม่มีน้ำมัน

ตารางที่ 3

เงื่อนไขในการวัดผล

ขนาดของตัวอย่าง : ø20 x 10 mm
Air Pressure : 0.3 MPa

การขัด

ในกรณีที่ต้องการขัด POROUS VENT สามารถทำได้ดังขั้นตอนต่อไปนี้

  1. 1.ขัดครั้งแรกด้วยหินขัดน้ำมันหรือหินขัดแม่พิมพ์ (แนะนำความหยาบ #800) จากนั้นวางตั้งฉากและครั้งซ้ำอีกครั้ง
  2. 2.ขัดด้วยหินขัดน้ำมันหรือหินขัดแม่พิมพ์แบบละเอียด (แนะนำความหยาบ#1200)
  3. 3.ขัดโดยใช้ paste-type polishing (แนะนำให้ใช้ขนาด 0.5 - 1 μm) หลังจากนั้นหากจำเป็นให้ใช้กระดาษทรายที่มีความละเอียดมากกว่า #2500 ขัดต่อ

วิธีการระบายน้ำมันออกจาก POROUS VENT

การเป่าลม (Air Blowing)

1. ทำรูเป่าลม (*)
ที่ฝั่งตรงข้ามกับด้านของพื้นผิวที่ถูกตัดขึ้นรูป เพื่อให้ลมสามารถเข้าไปได้โดยใช้แรงลมที่ 0.5 MPa โดยเป่าเป็นเวลาประมาณ 5-10 นาที และเช็ดสิ่งสกปรกออกจาก พื้นผิวที่ถูกตัดขึ้นรูปด้วยเศษผ้า
* สามารถทำได้หาก POROUS VENT มีช่องระบายแก๊สและอากาศ

การทำความสะอาดด้วย Ultrasonic

2. การทำความสะอาดด้วย Ultrasonic
สามารถทำความสะอาดได้โดยการใช้ Ultrasonic ประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงที่ความร้อนประมาณ 50 - 60 °C โดยใช้ผงทำความสะอาดโลหะแบบละลายน้ำ

ล้างด้วยน้ำร้อน

3. ล้างด้วยน้ำร้อน
แช่ในน้ำร้อนอุณหภูมิ 50 - 60 °C ประมาณ 5 นาทีก่อนการเป่า และทำซ้ำจนกว่าน้ำจะใส

การทำให้แห้ง

4. การทำให้แห้ง
อบในเตาอบแห้งที่อุณหภูมิ 150 - 160 °C ประมาณ 1-2 ชั่วโมงหากไม่สามารถใช้เตาอบแห้งได้ ให้ใช้วิธีที่ 1 ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะไม่มีความชื้น หรือประมาณ 1-2 ชม.

วิธีการบำรุงรักษา POROUS VENT

  • การดูแลรักษาแบบรายวัน (กรณีที่ POROUS VENT อยู่ในแม่พิมพ์) วิธีนี้จะช่วยลดการอุดตันของเรซิ่นแบบอ่อน ควรบำรุงรักษาทุกวันก่อนเริ่มหรือเสร็จสิ้นการฉีดขึ้นรูปพลาสติก
    1. 1. ฉีดแอลกอฮอล์บนพื้นผิวส่วนที่ติดกับแม่พิมพ์ และเช็ดออกด้วยผ้าทันที (ทำซ้ำ 1-2 ครั้ง)
    2. 2. ใช้ผ้าชุบแอลกอฮอล์เช็ดบนพื้นผิวของ POROUS VENT ในขณะที่กำลังเป่าลมเข้ารูระบาย
  • การดูแลรักษาแบบสัปดาห์ (กรณีที่ POROUS VENT อยู่ในแม่พิมพ์)
    1. 1. ฉีดสารทำละลายอินทรีย ลงบนพื้นผิวที่ติดกับแม่พิมพ์ และเช็ดออกทันทีด้วยผ้า (ทำซ้ำ 1-2 ครั้ง)
    2. 2. ใช้ผ้าชุบสารทำละลายอินทรียเช็ดบนพื้นผิวของ POROUS VENT ในขณะที่กำลังเป่าลมเข้ารูระบาย
    3. * Acetone เป็นสารทำละลายอินทรียที่แนะนำ แต่ในกรณีนี้อาจขึ้นอยู่กับประเภทของเรซินที่ใช้ด้วย
  • การดูแลรักษาระยะยาว (กรณีที่สามารถถอดออกมาจากแม่พิมพ์ได้) วิธีนี้จะช่วยลดการอุดตันของเรซินที่ไม่สามารถนำออกได้โดยการบำรุงรักษาทั่วๆไป
    1. 1. นำ POROUS VENT ออกจากแม่พิมพ์ และแช่ลงในตัวทำละลาย เช่น Acetone ประมาณ 12-24 ชั่วโมง
    2. 2. ใช้วิธีการเดียวกับ "การระบายน้ำ" ตั้งแต่วิธีที่ 1-4 ตามลำดับ เพื่อขจัดเรซิ่นออกไป

ตัวอย่างสินค้าช่วยระบายอากาศในแม่พิมพ์

« หัวข้อก่อนหน้า
Injection screw และ Barrel
หัวข้อถัดไป »
อายโบลท์
MISUMI 5 Benefit