(!) Since support from Microsoft will end on January 14 2020, Windows 7 user might not be able to use MISUMI website effectively. Please consider to update your system as ‘MISUMI Website system requirement’.

  • แจ้งวันหยุดทำการในเดือนธันวาคม 2567 และวันหยุดทำการเทศกาลปีใหม่ 2568 | Notice holiday in December 2024 and New Year Holiday 2025 > คลิก
  • การยกเลิกจำหน่ายสินค้าประเภทอุปกรณ์นิวเมติกส์ (Pneumatic equipment) รุ่น “Economy Series”​ | Notice of End of Sales for Economy Series Pneumatic Equipment Category > คลิก

Technical Zone Selection Guide

ไขควง (Screwdriver)

เครื่องมือในงานซ่อมบำรุงที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับขันแน่น
หรือคลายสกรูด้วยมือ ในส่วนของด้านปลายไขควงจะมีลักษณะเป็นสกรู ด้ามไขควงที่เป็นฉนวน
มีไว้สำหรับจับ ซึ่งลักษณะจะมีรูปร่างที่แตกต่างกันเพื่อให้ใช้ได้กับสกรูชนิดต่างๆ
ได้อย่างหลากหลายในงานอุตสาหกรรม

ไขควงและส่วนประกอบ

ไขควงและส่วนประกอบ

ด้ามจับไขควง

ใช้สำหรับจับเพื่อสร้างแรงบิด วัสดุมีหลากหลายตามการใช้งาน ทำจากไม้ โลหะ หรือพลาสติก

ไขควงชนิดทั่วไป

ชนิดทั่วไป

ไขควงชนิดที่มีแกนอยู่ตรงกึ่งกลางของด้ามจับ
มีทั้งชนิดที่ยึดระหว่างด้ามกับไขควงแบบถาวรและชนิดที่สามารถ
เปลี่ยนปลายไขควงได้ตามการใช้งาน

ไขควงชนิดด้ามทะลุ

ชนิดด้ามทะลุ

ใช้สำหรับคลายสกรูที่ขันแน่นมากหรือสกรูที่ขึ้นสนิม
โดยเพิ่มแรงกระแทกจากการเคาะด้วยค้อนเพื่อให้ง่ายต่อการคลายสกรูดังกล่าว

ก้านไขควง

มีทั้งก้านกลมและก้านเหลี่ยม สำหรับไขควงก้านกลม จะใช้สำหรับงานเบา และไขควงชนิดก้านเหลี่ยม จะเหมาะสำหรับงานหนัก เนื่องจากเราสามารถใช้ประแจหรือคีมจับ
ที่ก้านไขควงเพื่อเพิ่มแรงบิดได้

ไขควงก้านเหลี่ยม

ไขควงก้านเหลี่ยม

ไขควงก้านกลม

ไขควงก้านกลม

ปลายปากไขควง

ใช้สวมเข้าไปยังร่องของหัวสกรูหรือสลักเกลียวที่ต้องทำการถอด นิยมทำจากโลหะ มี 2 แบบ คือ

1. ไขควงปากแบน

เนื่องด้วยความยาวและความกว้างของปากไขควง ถูกกำหนดตามมาตรฐาน JIS
ผู้ใช้จึงจำเป็นต้องเลือกใช้ไขควงให้เหมาะสมกับสกรูที่ใช้งานเพื่อให้ขันได้อย่างแน่นสนิท
เช่น ไขควงขนาด 4.5 x 50 mm หรือ 6 x 100 mm

ความยาว
แกน
50 75 100 125 150 200 250 30
ความกว้าง
ปากไขควง
4.5 5.5 6 7 8 9 10 10

หน่วย : mm

ไขควงปากแบน

2. ไขควงปากแฉก

ขนาดของไขควงปากแฉกถูกระบุตามเบอร์ไขควง โดยมีตั้งแต่เบอร์ 1 ถึง 4 เป็นไขควง ที่ออกแบบมา
สำหรับใช้กับ สกรูชนิดร่องหัวผ่าไขว้กัน การเลือกใช้งานก็เช่นเดียวกับไขควงปากแบน ข้อสำคัญที่สุด
คือต้องเลือกใช้ไขควงที่ปากแนบสนิทกับร่องผ่าบนหัวสกรู เพื่อให้ได้งานเต็มตามประสิทธิภาพของ
ไขควง

รุ่น H Type
เบอร์ 1 2 3 4
เส้นผ่า
ศูนย์กลางแกน
ขนาด
มาตรฐาน
5 6 8 9
ความยาวแกน 75 100 150 200

หน่วย : mm

ไขควงปากแฉก
MISUMI Engineer
Screwdrive

Screwdrive

หรือที่เรียกว่าช่องสกรู มีลักษณะเป็นร่องที่อยู่บนหัวสกรู
ช่วยให้ไขควงสามารถสร้างแรงการขันหรือคลายสกรู
ในทิศทางตามเข็มนาฬิกาหรือทวนเข็มนาฬิกา

ไขควงประเภทต่างๆ

1.ไขควงหัวบล็อก

ไขควงที่มีลักษณะปากเป็นบล็อกหกเหลี่ยม ใช้สำหรับคลายสกรูชนิดที่เป็นหัวหกเหลี่ยม

2.ไขควงแม่เหล็ก

ที่ปลายไขควงแม่เหล็กสามารถดูดติดหัวน๊อตได้ ทำให้ไม่หลุดหรือหล่นขณะขัน เพื่อเพิ่มความสะดวกในการขันในที่แคบ เช่น กรณที่หน้างานไม่สามารถใช้มือจับเพื่อประคอง
ตัวสกรูได้

3.ไขควงไฟฟ้า

เป็นไขควงที่นิยมใช้สำหรับผ่อนแรงในการขันสกรู ใช้งานง่าย สะดวกและรวดเร็ว สามารถปรับระดับความเร็วรอบได้ ด้ามจับไขควงประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่ ทำให้สามารถจับได้ถนัดมือในขณะใช้งาน

4.ไขควงด้ามสั้น

มีลักษณะของด้ามจับที่กระชับมือมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพในการออกแรงสำหรับขันหรือคลายสกรู นิยมใช้ในงานบริเวณพื้นที่จำกัด เนื่องจากเป็นไขควงที่สะดวก
ต่อการใช้งานในที่แคบ

5.ไขควงเล็กสำหรับงานละเอียด

เป็นอุปกรณ์ไขควงสำหรับขันสกรูในงานขนาดเล็ก เหมาะสำหรับงานประกอบ และงานแยกชิ้นส่วนเครื่องจักรที่มีความละเอียดสูง กล้องถ่ายรูป นาฬิกาข้อมือ และแว่นตา

6.ไขควงด้ามฟรี

ใช้งานโดยการหมุนด้ามจับกด้วยข้อมือซ้ำไปมา เนื่องจากการเคลื่อนไหวของด้ามและปลายไขควงนั้นเป็นอิสระต่อกัน จึงช่วยให้สามารถขันสกรูได้อย่างรวดเร็ว

7.ไขควงหกแฉก

ใช้สำหรับการขันหรือคลายสกรูประเภท TORX® ด้วยมือ ซึ่งรูปทางของปากไขควงจะมี 2 ประเภทให้เลือกใช้งาน ปากไขควงสำหรับสกรู TORX® จะระบุด้วยขนาด
ในรูปแบบ “Txx” ส่วนรุ่นที่มีอักษร H ต่อท้าย “TxxH” จะเป็นของสกรู TORX® ชนิดมีเดือยตรงกลางซึ่งต้องใส่และถอดด้วยอุปกรณ์เฉพาะ

ไขควงปากแฉก

หมายเหตุ : TORX®
เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท
Acument Intellectual Properties, LLC

คำแนะนำในการใช้งานไขควง

  1. 1.ไม่ควรใช้ด้ามไขควงทุบแทนอุปกรณ์ค้อน
  2. 2.ไม่ควรใช้ไขควงงัดหรือแงะแทนเหล็กสกัดเพราะอาจจะทำให้ไขควงเกิดความเสียหาย
  3. 3.ไขควงชนิดที่ด้ามจับเป็นฉนวนหรือยางหุ้ม สามารถช่วยป้องกันกระแสไฟฟ้าได้
  4. 4.ควรเลือกใช้ไขควงให้เหมาะสมกับประเภทของงานที่ปฏิบัติ
  5. 5.เมื่อไขควงชำรุดหรือเสียหาย ไม่ควรนำมาใช้ต่อ
  6. 6.หลังใช้งานเราควรทำความสะอาดแล้วทาน้ำมันหรือกันสนิม เช็ดให้แห้งแล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
MISUMI 5 Benefit