This Website uses cookies. Please accept our cookie policy for your best experience.
You can learn more on how to adjust your cookie setting in our Privacy Policy here
(!) Since support from Microsoft will end on January 14 2020, Windows 7 user might not be able to use MISUMI website effectively. Please consider to update your system as ‘MISUMI Website system requirement’.
ในการฉีดงานขึ้นรูปพลาสติก หลายๆคนอาจพบปัญหาชิ้นงานมีร่องอากาศ,ฉีดไม่เต็ม, ฟองอากาศ, มีรอยเชื่อมประสาน, เสียรูป, เกิดรอยไหม้ หรือผิวงานไม่เรียบสม่ำเสมอ ซึ่งสาเหตุหลักอย่างหนึ่งของการเกิดข้อบกพร่องข้างต้นคือ การระบายอากาศในแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกที่ไม่ดีพอ หรือเป็นจุดที่ไม่สามารถเปิดร่องระบายอากาศได้ จึงทำให้ชิ้นงานเกิดความเสียหาย
โดยปกติแล้ว ในขั้นตอนการฉีดงานพลาสติก พลาสติกเหลวจะถูกฉีดเข้าไปในแม่พิมพ์โดยจะไหลผ่านทางเข้าไปสู่ส่วนของชิ้นงาน ตามที่เรากำหนดไว้ ซึ่งในแม่พิมพ์นั้นมีอากาศอยู่ด้วย ซึ่งหากอากาศเหล่านี้ ไม่สามารถระบายออกจากแม่พิมพ์ได้ อย่างเพียงพอ จะทำให้พลาสติกเหลวเหล่านี้ ถูกกีดขวางโดยอากาศ ทำให้สภาวะการไหลที่ผิดปกติ หรือเกิดความร้อนสูง จนเกิดข้อบกพร่องของชิ้นงานตามที่กล่าวมาข้างต้นได้
นอกจากนี้ในบางกรณีอากาศหรือแก๊ส อาจเกิดจากชนิดหรือประเภทของพลาสติกเอง ซึ่งจะทำให้ปริมาตรอากาศหรือที่อยู่ในโพรงฉีดชิ้นงานมีมากกว่าปกติ ทำให้การเปิดช่องระบายอากาศ ตามปกติไม่เพียงพอ จนทำให้เกิดข้อบกพร่องต่างๆตามมา
โดยวิธีแก้ไขปัญหาชิ้นงานเกิดข้อบกพร่อง จากการระบายอากาศได้ไม่ดีพอ คือ การเลือกใช้ Porous Vent จากมิซูมิ ในการช่วยระบายแก๊สหรืออากาศที่หลงเหลืออยู่ในแม่พิมพ์
(ควรตรวจสอบเครื่องจักรในการตัดขึ้นรูปของก่อนการใช้งานเนื่องจากเครื่องจักรแต่ละประเภทมีความแตกต่างตามลักษณะการใช้งาน)
ตารางที่ 1 : การใช้ NC Milling ในการตัดขึ้นรูป POROUS VENT
Required Tools
ตารางที่ 2 : การใช้เลเซอร์ ในการตัดขึ้นรูป POROUS VENT
(ความลึก 0.01 mm.)
* โปรดระวัง หาก Laser output แรงเกินไป อาจทำให้พื้นผิวงานอาจจะเสียหายได้
การระบายน้ำมันออกในกรณีที่ใช้เครื่องจักรสำหรับกัด ขึ้นรูป POROUS VENT รวมไปถึงการใช้ Wire Cutting , NC milling เนื่องจากหากมีน้ำมันอยู่บนผิวของงาน อากาศทำให้การระบายอากาศ ไม่มีประสิทธิภาพที่เพียงพอ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดสนิมได้อีกด้วย ซึ่งสามารถดูความแตกต่างของประสิทธิภาพในการระบายอากาศบนพื้นผิวที่มีน้ำมันและไม่มีน้ำมันได้ตาตารางด้านล่าง
ตารางที่ 3 : เปรียบเทียบการระบายอากาศหลังการตัดขึ้นรูปที่พื้นผิวมีน้ำมันและไม่มีน้ำมัน
เงื่อนไขในการวัดผล
ขนาดของตัวอย่าง : ø20 x 10 mm
Air Pressure : 0.3 MPa
ในกรณีที่ต้องการขัด POROUS VENT สามารถทำได้ดังขั้นตอนต่อไปนี้
1. ทำรูเป่าลม (*)
ที่ฝั่งตรงข้ามกับด้านของพื้นผิวที่ถูกตัดขึ้นรูป เพื่อให้ลมสามารถเข้าไปได้โดยใช้แรงลมที่ 0.5 MPa โดยเป่าเป็นเวลาประมาณ 5-10 นาที และเช็ดสิ่งสกปรกออกจาก พื้นผิวที่ถูกตัดขึ้นรูปด้วยเศษผ้า
* สามารถทำได้หาก POROUS VENT มีช่องระบายแก๊สและอากาศ
2. การทำความสะอาดด้วย Ultrasonic
สามารถทำความสะอาดได้โดยการใช้ Ultrasonic ประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงที่ความร้อนประมาณ 50 - 60 °C โดยใช้ผงทำความสะอาดโลหะแบบละลายน้ำ
3. ล้างด้วยน้ำร้อน
แช่ในน้ำร้อนอุณหภูมิ 50 - 60 °C ประมาณ 5 นาทีก่อนการเป่า และทำซ้ำจนกว่าน้ำจะใส
4. การทำให้แห้ง
อบในเตาอบแห้งที่อุณหภูมิ 150 - 160 °C ประมาณ 1-2 ชั่วโมงหากไม่สามารถใช้เตาอบแห้งได้ ให้ใช้วิธีที่ 1 ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะไม่มีความชื้น หรือประมาณ 1-2 ชม.
Cavity Insert Blocks with Slit Vent
Part No : SGWD
Cavitiy Inserts for Gas Release
Part No : LBCV-X
Cavity Insert for Gas Release (Round Shape)
Part No : BGVS
Part No : MSTV