(!) เนื่องจาก Microsoft จะหยุดให้การสนับสนุนระบบปฏิบัติการ Windows 7 ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2563 และอาจส่งผลให้ผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 ไม่สามารถใช้งานเว็บไซต์มิซูมิได้อย่างสมบูรณ์ กรุณาอัพเดทระบบและบราวเซอร์ตามเงื่อนไขระบบที่รองรับมิซูมิเว็บไซต์

    Sales
  • ดูล่าสุด
  • ชิ้นส่วนของฉัน
  • รถเข็น
ผลิตภัณฑ์ที่ดูล่าสุด
X
ชิ้นส่วนของฉัน
X
รถเข็น รายการ
X
Loading...
  • แจ้งวันหยุดทำการในเดือน เมษายน 2567 | Notice holiday in April 2024 > คลิก

น็อต(วัสดุ:ทองแดง)

น็อต สกรู โบลท์ แหวนรอง สำหรับงานประกอบอลูมิเนียมโปรไฟล์หรืออลูมิเนียมเฟรม เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับยึดและเชื่อมต่อจุดต่างๆ ของโครงสร้างเข้าด้วยกัน น็อตประเภทนี้มีชื่อเรียกอื่นๆ อีก คือ ทีน็อตหรือน็อตตัวที โดยด้านข้างน็อตจะมีรูปทรงคล้ายกับตัวที ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถสอดเข้าไปในร่องของอลูมิเนียมโปรไฟล์ และตรงกึ่งกลางน็อตจะถูกต๊าปเกลียวแบบทะลุ เพื่อนำสกรู หรือโบลท์ และแหวนรองมาทำการยึดให้แน่นหนาได้ทันที นอกจากนี้น็อตสำหรับงานประกอบอลูมิเนียมโปรไฟล์ยังมีหลายแบบและหลายขนาดให้เลือกใช้งาน ดังนั้นจึงควรเลือกให้เหมาะกับการใช้งาน
CAD
วันจัดส่ง
  • ทั้งหมด
  • บริการจัดส่งวันเดียวกัน
  • 1 วันหรือน้อยกว่า
  • 3 วันหรือน้อยกว่า
  • 5 วันหรือน้อยกว่า
  • 6 วันหรือน้อยกว่า
  • อื่น ๆ
1 รายการ
เรียงลำดับตาม
30
60
90
  1. 1
  • คุณสามารถเพิ่มได้ถึง 6 รายการต่อหมวดหมู่เพื่อเปรียบเทียบรายการ
    SF30 นัทโค้ง

    SF30 นัทโค้ง

    SUS

    ตัวเลือกประเภทและชิ้นส่วนที่ใหญ่ที่สุด
    มีข้อมูลผิดพลาดในแคตตาล็อกผลิตภัณฑ์นี้ โปรดตรวจสอบหมายเหตุแก้ข้อมูลผิด (จากหน้า P881) ก่อนใช้งานผลิตภัณฑ์
    เริ่ม: ฿ 17.74
    วันจัดส่ง: วันจัดส่ง 3 วัน
    วันจัดส่ง 3 วัน
แบรนด์
ชุดผลิตภัณฑ์
CAD
เริ่ม
วันจัดส่ง
ชนิด น๊อตตัวเมีย
Series
จำนวนด้าย M(มิลลิเมตร)
วัสดุ
ฟังก์ชั่น
ล็อค
คุณสามารถเพิ่มได้ถึง 6 รายการต่อหมวดหมู่เพื่อเปรียบเทียบรายการ
SF30 นัทโค้ง
แบรนด์

SUS

ชุดผลิตภัณฑ์

SF30 นัทโค้ง

CAD
  • 2D / 3D
เริ่ม

฿ 17.74

วันจัดส่ง 3 วัน
ชนิด น๊อตตัวเมียน็อต สำหรับประกอบชิ้นส่วนล่วงหน้า
SeriesSUS SF30 ซีรี่ส์ (ชนิด ความกว้างของร่อง 8 มม.)
จำนวนด้าย M(มิลลิเมตร)M5
วัสดุทองแดง
ฟังก์ชั่นมาตรฐาน
ล็อค-

กำลังโหลด …

  1. 1

ตัวอย่างแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มสินค้าที่เกี่ยวข้องสำหรับ น็อต

FAQ น็อต (สำหรับอะลูมิเนียมโปรไฟล์)

  • สเปค
  • บริการเสริม
  • ตัวอย่างการใช้งาน
  • ข้อมูลทั่วไป
  • Question: สามารถใช้น็อตหกเหลี่ยมและน็อตสี่เหลี่ยมตามมาตรฐาน JIS กับอะลูมิเนียมโปรไฟล์ได้หรือไม่
    Answer: ไม่สามารถใช้ได้
    ต้องใช้น็อตพิเศษที่พอดีกับร่องของอะลูมิเนียมโปรไฟล์เพื่อที่จะยึดพื้นที่รับแรงกดขนาดใหญ่ และป้องกันการโก่งของอะลูมิเนียมโปรไฟล์
    Question: น็อตและฉากยึดสามารถใช้ร่วมกันในการยึดอะลูมิเนียมโปรไฟล์ทุกประเภทได้หรือไม่
    Answer: สามารถใช้ได้หากอยู่ในซีรีส์เดียวกัน
    เนื่องจากรูปร่างของร่องเหมือนกันจึงสามารถใช้อุปกรณ์เสริมร่วมกันได้
    Question: บริการเสริม “ชุดโบลท์และน็อตที่ใช้งานได้” ของฉากยึดสีดำ สามารถเพิ่มโบลท์และน็อตที่ทำจากสเตนเลสเป็นอุปกรณ์พ่วงด้วยหรือไม่ (ตัวอย่างเช่น HBLFSNB6-SST/ HBLFSNB6-SSU/ HBLFSNB6-SSP)
    Answer: ไม่ได้
    เนื่องจากไม่มีโบลท์และน็อตสีดำที่ทำจากสเตนเลสสำหรับฉากยึดสีดำ จึงไม่สามารถจัดเป็นชุดใน บริการเสริม “ชุดโบลท์และน็อตที่ใช้งานได้”
    Question: มีสินค้าที่ป้องกันชิ้นส่วนขันแน่นหลวมหรือไม่
    Answer: มี ได้แก่
    สกรู พร้อม แหวนสปริง จับเป็นกลุ่ม (500 ชิ้นต่อแพ็คเกจ) (HCBST)
    • น็อตป้องกันการหลวม (ซีรีส์ HNTTV□/HNTTZ□)
    □ คือหมายเลขของอะลูมิเนียมโปรไฟล์
    Question: เมื่อต้องเลือกน็อตสำหรับอะลูมิเนียมโปรไฟล์ ความแตกต่างระหว่างซีรีส์ 8 และซีรีส์ 8-45 คืออะไร
    Answer: รหัสรุ่นที่ใช้สำหรับสต็อปเปอร์ชนิดใส่ก่อนประกอบและน็อตแบบมีสต็อปเปอร์จะแตกต่างกันระหว่างซีรีส์ 8 และซีรีส์ 8-45 สำหรับน็อตอื่น ๆ สามารถใช้ร่วมกันได้
    • ซีรีส์ 8 : สต็อปเปอร์ชนิดสวมก่อนประกอบ HNST8, น็อตแบบมีสต็อปเปอร์ HNTE8, สเตนเลสของรุ่นเดียวกัน SHNTE8
    • ซีรีส์ 8-45 : HNST8-45/ HNTE8-45/ SHNTE8-45
    Question: หน้าที่ของ “สันกลับด้าน” ของฉากยึดแบบมีสันกลับด้านได้คืออะไร
    Answer: ฉากยึดแบบมีสันกลับด้านได้ใช้ในการยึดอะลูมิเนียมโปรไฟล์ชนิดเดียวกันเป็นแบบตัว L และแบบต่อไขว้ โปรดดูตัวอย่างด้านล่าง
    ฉากยึดแบบมีสันกลับด้านได้ใช้ในการยึดอะลูมิเนียมโปรไฟล์ชนิดเดียวกันเป็นแบบตัว L และแบบต่อไขว้
    แม้ในการเชื่อมต่อโปรไฟล์แบบไขว้ก็สามารถใช้ฉากยึดแบบมีสันกลับด้านได้
    Question: โหลดสูงสุดที่รับได้ (Allowable load) ของฉากยึดหมายถึงโหลดในเงื่อนไขใด
    Answer: คือโหลดสูงสุดที่รับได้ต่ออะลูมิเนียมโปรไฟล์ 1 ชิ้น ภายใต้เงื่อนไขที่มีการติดตั้งอะลูมิเนียมโปรไฟล์ 2 ชิ้นเข้าด้วยกัน แล้ววางอะลูมิเนียมโปรไฟล์อีกชิ้นหนึ่งระหว่างกลางและยึดด้วยฉากยึด 2 ชิ้น ที่ด้านล่าง โหลดสูงสุดที่รับได้นี้แสดงถึงน้ำหนักที่ฉากยึดสามารถรักษาตำแหน่งได้ (ไม่หักหรือเลื่อนไถล) ในขณะที่รูประกอบทั้งหมดของฉากยึดถูกขันแน่นด้วยโบลท์
    ฉากยึดถูกขันแน่นด้วยโบลท์
    Question: อยากทราบความยาวของอะลูมิเนียมโปรไฟล์ที่สามารถสั่งซื้อได้
    Answer: สามารถสั่งซื้อในช่วงความยาวตั้งแต่ 50 ถึง 4000mm
    หมายเหตุ : เนื่องจากบางประเภทสามารถสั่งซื้อได้ในช่วงความยาวระหว่าง 4001mm ถึง 6000mm โปรดขอรับการเสนอราคาผ่านทาง บริการสินค้าสเปคนอกเหนือจาก FA Catalog ของ MISUMI
    Question: ค่าพิกัดความเผื่อในการตัดชิ้นส่วนอะลูมิเนียมโปรไฟล์คือเท่าไร
    Answer: ± 0.5mm ของขนาดที่ระบุ
    Question: ค่าความตั้งฉากของพื้นผิวตัดของอะลูมิเนียมโปรไฟล์มีค่าเท่าไร
    Answer: เนื่องจากอะลูมิเนียมโปรไฟล์เป็นวัสดุดึงขึ้นรูป จึงไม่สามารถกำหนดพื้นผิวอ้างอิงได้ ดังนั้นจึงไม่สามารถระบุค่าความตั้งฉากของพื้นผิวตัดได้
    Question: รหัสรุ่นของอะลูมิเนียมโปรไฟล์ที่ขึ้นต้นด้วย "K" มีความหมายว่าอย่างไร
    (ตัวอย่าง : KHFS6-3030-4000)
    Answer: แสดงถึงอะลูมิเนียมโปรไฟล์ที่มีความยาวคงที่ มีให้เลือก 2 ชนิดคือ 4000mm (ความยาวประสิทธิผล) และ 1000mm
    Question: “ความยาวประสิทธิผล 4000mm” ที่ระบุในโปรไฟล์ชนิดความยาวคงที่ที่มีรหัสรุ่นขึ้นต้นด้วยตัวอักษร K มีความหมายว่าอย่างไร
    Answer: หมายความว่าความยาวที่ใช้งานได้จริงคือตั้งแต่ 4000mm ขึ้นไป
    ความยาวที่วัดได้จริงจะมีขนาดตั้งแต่ 4000mm หรือมากกว่า (ยาวกว่าประมาณไม่กี่ 10mm)
    อะลูมิเนียมโปรไฟล์ความยาวคงที่คืออะลูมิเนียมโปรไฟล์ที่นำไปตัดและใช้โดยลูกค้า ดังนั้นจึงไม่สามารถระบุความยาวที่แน่นอนได้
    Question: อะลูมิเนียมโปรไฟล์ซีรีส์ 8 กับซีรีส์ 8-45 ต่างกันอย่างไร
    Answer: ความกว้างของร่องมีขนาดเท่ากันคือ 1mm แต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกและความลึกของร่อง ฯลฯ จะแตกต่างกัน โปรดเลือกอุปกรณ์เสริมที่เหมาะสมกับแต่ละซีรีส์
    Question: ใช้อุปกรณ์อะไรในการตัดอะลูมิเนียมโปรไฟล์
    Answer: ใช้เลื่อยวงเดือนสำหรับตัดวัสดุเหล็กอ่อน หลังจากประกอบอะลูมิเนียมโปรไฟล์แล้วโปรดครอบพื้นผิวที่ตัดด้วย เฟรมแคป
    Question: ค่าพิกัดความเผื่อในแนวตั้งฉากของฉากยึดเป็นเท่าใด
    Answer: ขึ้นอยู่กับประเภทของฉากยึด
    • ฉากยึดที่ไม่ใช่แบบอัดรีดขึ้นรูป : ไม่มีการกำหนดค่าพิกัดความเผื่อในแนวตั้งฉาก
    • ฉากยึดแบบอัดรีดขึ้นรูป : ไม่เกิน ± 1 องศา อ้างอิงตามหมวดหมู่พิเศษของมาตรฐาน JIS H 4100 (ไม่รวมฉากยึดแบบมุมฉาก)
    • ฉากยึดแบบมุมฉาก (เหล็กฉาก 90 องศา): ค่าพิกัดความเผื่อน้อยกว่าฉากยึดแบบอัดรีด โปรดดูหน้ารายละเอียดของแต่ละสินค้า
    Question: มีฉากยึดที่สามารถยึดอะลูมิเนียมโปรไฟล์และแผ่นเพลทเข้าด้วยกันหรือไม่
    Answer: มี
    โปรดเลือกฉากยึดแบบมีสันข้างเดียว (HBLFSNK □, HBLFSNE □)
    □ คือหมายเลขของอะลูมิเนียมโปรไฟล์
    Question: ประเภทของฝาปิดท้ายโปรไฟล์ที่ใช้สำหรับอะลูมิเนียมโปรไฟล์รุ่นความแข็งแกร่งสูง GFS และ GNFS มีอะไรบ้าง
    Answer: มีสินค้าดังต่อไปนี้
    ฝาปิดท้ายโปรไฟล์ (พลาสติก)
    • ฝาปิดท้ายโปรไฟล์ (ฝาปิดท้ายเฟรม- สำหรับอะลูมิเนียมเฟรม ซีรีส์ 6 (ร่องกว้าง 8 มม.)) สำหรับอะลูมิเนียมโปรไฟล์ ซีรีส์ 6 (ร่องกว้าง 8mm)
    • ฝาปิดท้ายโปรไฟล์ (ฝาปิดท้ายเฟรม - สำหรับอะลูมิเนียมเฟรม ซีรีส์ 8 (ร่องกว้าง 10 มม.)) สำหรับอะลูมิเนียมโปรไฟล์ ซีรีส์ 8 (ร่องกว้าง 10mm)
    แผ่นเพลทสำหรับรุ่นความแข็งแรงสูง (โลหะ):
    • HFCD□ (□ คือหมายเลขของอะลูมิเนียมโปรไฟล์)
    โปรไฟล์ชนิด GFS และ GNFS มีรูปร่างผิวหน้าตัดที่แตกต่างจากชนิดอื่น ดังนั้นจึงต้องใช้ฝาปิดท้ายโปรไฟล์รุ่นเฉพาะ
    Question: มีฉากยึดที่ติดตั้งกับพาเนลได้ง่ายหลังประกอบแล้วหรือไม่
    Answer: มี
    ได้แก่ ฉากยึดพาเนล - พลาสติก (HCBR).
    โดยสามารถติดตั้งได้หลังจากประกอบอะลูมิเนียมโปรไฟล์ และสามารถติดตั้งกับพาเนลได้
    Question: มีอุปกรณ์เสริมสำหรับยึดสายเคเบิ้ลเข้ากับอะลูมิเนียมโปรไฟล์หรือไม่
    Answer: มี
    ได้แก่ แคลมป์ยึดสายเคเบิ้ล (HFCN□PACK/ HFCC□PACK) โดยสินค้าดังกล่าวไม่มีสายรัดเป็นอุปกรณ์พ่วง
    □ คือหมายเลขของอะลูมิเนียมโปรไฟล์
    Question: มีลูกกลิ้งที่ใช้งานร่วมกับอะลูมิเนียมโปรไฟล์ได้หรือไม่
    Answer: มี ได้แก่
    ลูกกลิ้งสำหรับเฟรมอะลูมิเนียม (HFROLL, HFROLLM) หรือ ลูกกลิ้ง ด้านเดียวสำหรับ อะลูมิเนียมโปรไฟล์【10 ชิ้นต่อแพ็คเกจ】 (HFROLK)
    Question: หากพบจาระบีสีนํ้าเงินติดที่เกลียวของราวจับ จะมีปัญหาในการใช้งานหรือไม่
    Answer: ไม่มีปัญหา
    เนื่องจากเป็นจาระบีใช้ป้องกันสนิมภายในเกลียว จึงสามารถใช้งานได้ตามปกติ
    Question: ควรกำหนดระยะห่างเท่าไรเมื่อทำประตูจากอะลูมิเนียมโปรไฟล์
    Answer: ระยะห่างระหว่างบานประตูกับกรอบอะลูมิเนียมโปรไฟล์ด้านนอกขึ้นอยู่กับซีรีส์ของอะลูมิเนียมโปรไฟล์ที่ใช้และความกว้างของประตู
    โปรดดูช่องว่างระหว่างบานประตูและกรอบด้านนอกตามแผนภาพด้านล่าง
    ช่องว่างระหว่างบานประตูและกรอบด้านนอก
  • Question: ในบริการเสริมของฉากยึด ถ้าระบุ “สั่งซื้อพร้อมชุดโบลท์และน็อตที่ใช้งานได้” จะสามารถเปลี่ยนเฉพาะรหัสรุ่นของของน็อตโดยการ “เปลี่ยนขนาดรู M” ได้หรือไม่
    Answer: ไม่ได้ กรณีดังกล่าวต้องสั่งซื้อแยกชิ้นเดี่ยว
    Question: สามารถเพิ่มรูต๊าปที่ส่วนปลายของอะลูมิเนียมโปรไฟล์ชนิดกัดผิวเรียบได้หรือไม่
    Answer: ได้
    สามารถระบุโดยใส่รหัส LTP (ผิวหน้าปลายด้านซ้าย), RTP (ผิวหน้าปลาด้านขวา) และ TPW (ผิวหน้าปลายทั้งสองด้าน) ได้เหมือนกับอะลูมิเนียมโปรไฟล์ปกติ
    Question: สามารถระบุบริการเสริมมากกว่า 2 แบบบนอะลูมิเนียมโปรไฟล์ได้หรือไม่
    Answer: ได้
    โปรดใส่รหัสรุ่นสำหรับบริการเพิ่มเติมไว้ต่อกัน ตัวอย่างเช่น “HFS6-3030-1000-LTP-RCH”
    Question: สามารถเจาะรูที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางต่างกันบนอะลูมิเนียมโปรไฟล์อันเดียวกันได้หรือไม่
    Answer: สินค้ามาตรฐานไม่สามารถทำได้
    Question: อะลูมิเนียมโปรไฟล์สามารถระบุรูขันประแจเพิ่มเติมได้สูงสุดกี่รู
    Answer: สามารถระบุรูแนวนอน รูแนวตั้ง และรูกากบาท ได้สูงสุดอย่างละ 5 ตำแหน่ง รวมเป็น 15 ตำแหน่ง
    Question: สามารถระบุบริการเสริม (เช่น เปลี่ยนจำนวนรู ตำแหน่งรู หรือขนาดรู) ที่ไม่ได้ระบุใน “รายการบริการเสริม” ในหน้ารวมข้อมูลทั่วไปของอะลูมิเนียมโปรไฟล์ ได้หรือไม่
    Answer: อาจระบุได้ในบางกรณี
    Question: เมื่อใช้ข้อต่อสกรู HCJ6 กับอะลูมิเนียมโปรไฟล์ซีรีส์ 6 รูขันประแจของอะลูมิเนียมโปรไฟล์ควรมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเป็น φ5 หรือ φ8
    Answer: เส้นผ่านศูนย์กลางรูขันประแจต้องเป็น φ8
    Question: โปรไฟล์แบบแบนสามารถเจาะรูทะลุเกินกว่า 5 รูได้หรือไม่
    Answer: สามารถทำได้
    โปรไฟล์แบบแบนสามารถเพิ่มรูได้สูงสุด 5 รูลงในเฟรมแบน
    Question: อะลูมิเนียมโปรไฟล์สามารถทำสีได้หรือไม่
    Answer: ไม่ได้
    Question: รหัส LMH และ LMV ในบริการเสริมการเจาะรู M บนอะลูมิเนียมโปรไฟล์แตกต่างกันอย่างไร
    Answer: LMH คือการเจาะรู M ในแนวนอนทางด้านซ้ายของอะลูมิเนียมโปรไฟล์ และ LMV คือการเจาะรู M ในแนวตั้ง
    (ความหมายตัวอักษรในบริการเสริม L : ซ้าย, R : ขวา, H : แนวนอน, V : แนวตั้ง)
    โปรดดูมาตรฐานการจัดวางเฟรมและคำแนะนำด้านล่าง
    • โปรดดูมาตรฐานการจัดวางเฟรม
    เมื่อมีการระบุบริการเสริมการเจาะรู โปรดระบุว่า “ต้องการเจาะรูที่ด้านใดของเฟรม (ซ้ายหรือขวา)” และ “เจาะในแนวนอนหรือแนวดิ่ง” หลังจากตั้งค่าตามที่กำหนดแล้ว ด้านขวา/ด้านซ้าย/แนวนอน/แนวตั้งจะถูกกำหนดตามที่แสดงในแผนภาพด้านล่าง
    มาตรฐานการจัดวางเฟรม
    Question: เมื่อระบุบริการเสริมรหัส "SC" (ตัดด้วยความแม่นยำสูง) ที่โปรไฟล์ชนิดกัดผิวเรียบ จะสามารถช่วยเพิ่มความแม่นยำของหน้าฉากในการตัดอะลูมิเนียมโปรไฟล์ได้หรือไม่
    Answer: ไม่สามารถเพิ่มความแม่นยำของหน้าฉากได้
    (โปรไฟล์ชนิดกัดผิวเรียบมีค่าความขนานแนวบนและล่าง 0.1/100 และความสูง T ± 0.05 ซึ่งรหัส SC จะช่วยเพิ่มความแม่นยำของความยาวเท่านั้น)
    Question: สามารถเจาะรู M6 ที่ด้านข้างของฉากยึดได้หรือไม่
    Answer: ไม่ได้ บริการเสริมรหัส "C" (เพิ่มรูประกอบฝาปิด) เป็นการเจาะรู M5 เท่านั้น
    Question: หากระบุบริการเพิ่มรูต๊าปที่อะลูมิเนียมโปรไฟล์ จะต๊าปที่บริเวณใดของอะลูมิเนียมโปรไฟล์
    Answer: ตำแหน่งที่ถูกต๊าปคือส่วนวงกลมสีแดงในภาพตัดขวางของอะลูมิเนียมโปรไฟล์ที่แสดงในหน้าสินค้าที่เกี่ยวข้อง โดยรูต๊าปมีสองประเภทคือรูตรงกลางและรูสี่เหลี่ยม ขึ้นอยู่กับรูปร่างผิวหน้าตัดของอะลูมิเนียมโปรไฟล์นั้น ๆ
    Question: สามารถใส่สปริงเสริมเกลียวโดยการเพิ่มรูต๊าปเข้ากับอะลูมิเนียมโปรไฟล์ได้หรือไม่
    Answer: สามารถทำได้
    โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมในหน้าเว็บไซต์ “ข้อมูลในการเลือกอะลูมิเนียมโปรไฟล์" หากเลือก LHP RHP หรือ HPW จะสามารถระบุบริการเสริมเพื่อใส่สปริงเสริมเกลียวได้
    Question: มีโอกาสหรือไม่ที่จะมีการใส่สปริงเสริมเกลียวมาให้ แม้ว่าจะไม่ได้ระบุบริการเสริมเพื่อสวมสปริงเสริมเกลียว (LHR PHP และ HPW) ที่รูต๊าปของอะลูมิเนียมโปรไฟล์ก็ตาม
    Answer: มี
    เฉพาะอะลูมิเนียมโปรไฟล์ซีรีส์ 8-45 ที่มีขนาดรูของรูต๊าปเป็น φ12.5 เท่านั้น แม้จะระบุรหัส LTP RTP หรือ TPW ก็จะมีการสวมสปริงเสริมเกลียวมาให้
    Question: ความเผื่อของความยาวของอะลูมิเนียมโปรไฟล์คือ ± 0.5mm แต่สามารถขอให้ตัดชิ้นส่วนด้วยค่าพิกัดความเผื่อที่แม่นยำยิ่งขึ้นได้หรือไม่
    Answer: สามารถทำได้
    โดยการระบุที่บริการเสริมด้วยรหัส "SC" เพื่อปรับปรุงค่าพิกัดความเผื่อของความยาว L จาก ± 0.5 เป็น ± 0.2mm แต่สามารถทำได้เฉพาะวัสดุที่มีความยาวไม่เกิน 1500mm เท่านั้น
  • Question: อยากทราบวิธีการประกอบรางสไลด์เข้ากับอะลูมิเนียมโปรไฟล์
    Answer: แผนภาพด้านล่างเป็นตัวอย่างของการเชื่อมรางสไลด์โดยใช้อะลูมิเนียมโปรไฟล์ชนิดกัดผิวเรียบและน็อตแบบยาว
    ※สินค้าในภาพตัวอย่างคือซีรีส์ 6 แต่สามารถใช้วิธีการเดียวกันได้กับซีรีส์ 5 และซีรีส์ 8
    ※เมื่อใช้อะลูมิเนียมโปรไฟล์ ให้ดัดและบิดวัสดุให้อยู่ภายในระยะตามมาตรฐาน JIS
    ตัวอย่างของการเชื่อมรางสไลด์โดยใช้อะลูมิเนียมโปรไฟล์ชนิดกัดผิวเรียบและน็อตแบบยาว
    Question: วิธีการติดตั้งอะลูมิเนียมโปรไฟล์ในแนวตั้งบนแผ่นฐานสามารถทำได้อย่างไร
    Answer: สามารถทำได้ 3 วิธี
    • ต๊าปรูบนแผ่นฐาน 2 รู แล้วนำโบลท์ 2 ตัวบนอะลูมิเนียมโปรไฟล์ที่ติดตั้งข้อต่อคู่ไว้ก่อนแล้วไปประกอบเข้ากับรูต๊าปของแผ่นฐานในแนวตั้งฉาก (รูปที่ 1)
    • เจาะรูทะลุ 2 รูบนแผ่นฐาน แล้วใช้โบลท์ยึดแผ่นฐานกับอะลูมิเนียมโปรไฟล์ที่ประกอบน็อตสำหรับข้อต่อคู่เอาไว้ก่อนจากด้านล่าง (รูปที่ 2)
    • ยึดกับขาตั้งสำหรับอะลูมิเนียมโปรไฟล์ (รูปที่ 3)
    วิธีการติดตั้งอะลูมิเนียมโปรไฟล์ในแนวตั้งบนแผ่นฐาน
    Question: โปรดยกตัวอย่างการใช้อะลูมิเนียมโปรไฟล์แบบทำมุม (HFS□□A5)
    Answer: ด้านล่างเป็นตัวอย่างของการใช้อะลูมิเนียมโปรไฟล์แบบทำมุม HFS30A5-20
    โปรดใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง
    ตัวอย่างของการใช้อะลูมิเนียมโปรไฟล์แบบทำมุม HFS30A5-20
  • Question: ประเภทและคุณสมบัติของอะลูมิเนียมโปรไฟล์มีอะไรบ้าง
    Answer: วัสดุและคุณสมบัติของอะลูมิเนียมโปรไฟล์จะแตกต่างกันตามประเภทของอะลูมิเนียมโปรไฟล์
    โปรดดูข้อมูลในตารางด้านล่างนี้
    • ชนิดและคุณสมบัติของอะลูมิเนียมโปรไฟล์
    ชนิดและคุณสมบัติของอะลูมิเนียมโปรไฟล์
    *สีของอะลูมิเนียมโปรไฟล์อาจแตกต่างกันตามวัสดุ
    Question: อยากทราบวิธีเลือกชิ้นส่วนอุปกรณ์เสริมสำหรับอะลูมิเนียมโปรไฟล์
    Answer: เมื่อเลือกอะลูมิเนียมโปรไฟล์แล้วจะมีหมายเลขระบุชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้ใช้ตัวเลขนั้นเป็นคู่มือในการเลือกอุปกรณ์เสริม
    • การเลือกชิ้นส่วนอุปกรณ์เสริม
    เมื่อเลือกอะลูมิเนียมโปรไฟล์แล้วจะมีหมายเลขระบุชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้ใช้ตัวเลขนั้นเป็นคู่มือในการเลือกอุปกรณ์เสริม
    การเลือกชิ้นส่วนอุปกรณ์เสริม
    Question: อยากทราบวิธีการยึดแผ่นพาเนลเข้ากับอะลูมิเนียมโปรไฟล์
    Answer: การยึดแผ่นพาเนลเข้ากับอะลูมิเนียมโปรไฟล์มี 3 วิธี ได้แก่ “การยึดด้วยฉากยึด” “การยึดเข้ากับร่อง” และ “การติดตั้งโดยตรง”
    Question: ความแตกต่างระหว่างน็อตกับสกรู วิธีการใช้งาน เป็นอย่างไร
    Answer: สกรู มีลักษณะคล้ายกับโบลท์คือมีเกลียวโดยรอบ แต่ส่วนปลายของสกรูนั้นจะมีลักษณะเป็นหัวแหลม เพื่อให้สามารถจะเข้าไปยึดกับเนื้อวัสดุได้ เช่น เจาะยึดไม้ พลาสติก เป็นต้น ในส่วนการใช้งานของสกรูนั้นไม่จำเป็นต้องใช้งานร่วมกับนัท
    น็อตโดยส่วนใหญ่คนไทยจะเรียกรวมกันทั้งโบลท์และนัท ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
    – น็อตตัวผู้ หรือโบลท์ มีลักษณะเป็นแท่งเหล็กทรงกระบอก มีเกลียวอยู่โดยรอบ บริเวณส่วนหัวน็อตมีไว้สำหรับใช้งานร่วมกับไขควงหรือประแจ เพื่อขันเข้าสำหรับยึดชิ้นงานเข้าด้วยกัน โดยส่วนใหญ่มักจะใช้งานร่วมกับนัท
    – น็อตตัวเมีย หรือนัท มีลักษณะเป็นชิ้นเหล็กหกเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม มีรูเกลียวตรงกลาง มักจะใช้งานร่วมกับโบลท์เพื่อยึดชิ้นงานตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไปเข้าด้วยกัน
    Question: ข้อแตกต่างระหว่าง โบลท์และนัท เป็นอย่างไร
    Answer: – นัท จะมีรูปทรงเป็นหกเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมมีรูตรง และภายในรูนั้นจะมีฟันเกลียวหมุนวนอยู่โดยรอบ ตัวอย่างเช่น นัทหกเหลี่ยม, นัทสี่เหลี่ยม, นัทหกเหลี่ยมมีบ่า เป็นต้น
    – โบลท์ จะมีลักณะเป็นแท่งเกลียวตันภายนอก มักจะใช้งานร่วมกับนัทหรือวัตถุที่มีรูเกลียว ตัวอย่างเช่น โบลท์หกเหลี่ยม, ที-โบลท์, อายโบลท์ เป็นต้น
    Question: น็อตมีกี่ประเภท?
    Answer: นัทมีด้วยกันหลายชนิด สามารถแบ่งได้ตาม ลักษณะการใช้งาน, รูปร่าง, ขนาด, วัสดุที่ใช้ในการผลิต และอื่นๆ ตัวอย่างเช่น
    นัทสำหรับใช้งานกับอะลูมิเนียมโปรไฟล์ สามารถแบ่งตามลักษณะการประกอบได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
    1. ประกอบเพิ่มได้หลังจากประกอบโครงสร้างเสร็จ ตัวอย่างเช่น ฟรีนัท, ทีนัทแบบพิเศษ, ทีนัทแบบสปริง, บอลสปริงทีนัท, ทีโบลท์ และอื่นๆ
    2. ประกอบก่อนการประกอบโครงอะลูมิเนียม ตัวอย่างเช่น ทีนัท, ทีนัทแบบยาว,ทีนัทพร้อมน็อตตัวหนอน, สต็อปเปอร์ทีนัท และอื่นๆ
    Question: สกรูจำเป็นต้องมีน็อตหรือไม่?
    Answer: ในการใช้งานสกรูนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้นัท เพราะรูปร่างของสกรูนั้นมีปลายแหลม และมีเกลียวรอบด้านซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการเจาะทะลุและยึดติดกับวัสดุได้ดีจึงไม่จำเป็นต้องใช้นัทในการยึด ในทางกับกันหากใช้โบลท์ควรจะใช้งานร่วมกับนัท เพื่อยึดวัสดุสองชิ้นเข้าด้วยกัน
    Question: ขันน๊อตอย่างไรให้ถูกต้อง?
    Answer: 1. ก่อนการจะใช้งานนัทและโบลท์สิ่งแรกงที่ควรตรวจสอบก่อนเลยคือ ขนาดเกลียวของโบลท์และนัทนั้นมีขนาดที่เท่ากัน
    2. ใช้มือหมุนโบลท์หรือนัทเบื้องต้นเพื่อให้เกลียวของอุปกรณ์ทั้งสองประกอบเข้าด้วยกันจนสุด
    3. ใช้ประแจหรือลูกบล็อกหกเหลี่ยมขันให้แน่น