(!) เนื่องจาก Microsoft จะหยุดให้การสนับสนุนระบบปฏิบัติการ Windows 7 ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2563 และอาจส่งผลให้ผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 ไม่สามารถใช้งานเว็บไซต์มิซูมิได้อย่างสมบูรณ์ กรุณาอัพเดทระบบและบราวเซอร์ตามเงื่อนไขระบบที่รองรับมิซูมิเว็บไซต์

  • Scheduled Maintenance Notice: This site will be unavailable due to scheduled maintenance from 5:00 21/4/2024 to 5:00 22/4/2024. We apologize for the inconvenience.
  • แจ้งวันหยุดทำการในเดือน เมษายน 2567 | Notice holiday in April 2024 > คลิก

ลิเนียร์บุชชิ่ง

ลิเนียร์บุชชิ่ง (Linear Bushing) อุปกรณ์สำหรับการป้องกันการเคลื่อนที่ของเพลาหรือสายพานลำเลียง
  • ขั้นตอนการเลือกใช้งาน
  • การคำนวณการใช้งาน
  • ข้อคำนึงในการเลือกใช้งานให้เหมาะสม
  • ผลิตภัณฑ์จากมิซูมิ
  • ข้อมูลสนับสนุนการเลือกใช้งาน / ขั้นตอนการเลือกใช้

    arrow step

    1กำหนดเงื่อนไขการใช้งาน

    • ความยาว Stroke:LS
    • ขนาดพื้นที่ติดตั้ง
    • ขนาด (จำนวนกระบอก
      จำนวนเพลา ระยะช่วงห่าง)
    • อุณหภูมิที่ใช้งาน

      ค่าสัมประสิทธิ์อุณหภูมิ(fY)

      หากอุณหภูมิของระบบการเคลื่อนที่เกินกว่า 100 °C ความแข็งของระบบการเคลื่อนที่เชิงเส้นจะลดลง ทำให้ค่าโหลดที่ยอมรับได้ต่ำกว่าการใช้งานในอุณหภูมิปกติ ส่งผลให้อายุการใช้งานสั้นลง ดังนั้นจึงต้องปรับแก้ค่าอายุการใช้งานโดยประเมินด้วยค่าสัมประสิทธิ์อุณหภูมิ

    • ความเร็ว:V
    • ความถี่ในการใช้งาน
      (Duty Cycle)
    • รูปแบบการติดตั้ง
    • น้ำหนักและความสมดุล

      โมเมนตัม

      การติดตั้งลิเนียร์บุชชิ่งควรใช้งานโดยกระจายน้ำหนักโหลดตลอดพื้นผิวไถลของเม็ดลูกปืนให้สม่ำเสมอกัน กรณีที่มีแรงกระทำเนื่องจากโมเมนตัม ผลิตภัณฑ์ชนิด Short หรือ Single จะไม่สามารถใช้งานเพียงชิ้นเดียวได้ จึงควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ชนิด Double หรือติดตั้งเป็นจำนวนหลายชิ้นพร้อมกัน กรณีที่ติดตั้งหลายชิ้นพร้อมกัน ควรติดตั้งโดยให้แต่ละชิ้นมีระยะห่างกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

    โหลดที่ยอมรับได้

    • แรงพลวัตประเมิน (C)

    แรงคงที่ที่กระทำในทิศทางตรง ซึ่งทำให้ชุดรางเลื่อนเกิดการเคลื่อนที่ไป ภายใต้เงื่อนไขการใช้งานเดียวกัน โดย 90 % ของวัสดุนั้นจะไม่ได้รับความเสียหายจากความล้าจากการกลิ้ง

    • แรงสถิตประเมิน (Co)

    แรงสถิตที่กระทำบนชิ้นส่วนที่มีการสัมผัสภายใต้ความเค้นสูงสุด ซึ่งผลรวมของการยุบตัวถาวรของเม็ดลูกปืนและหน้าสัมผัสที่ใช้กลิ้งเท่ากับ 0.0001 เท่าขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของเม็ดลูกปืน

    • โมเมนต์สถิตที่ยอมให้มีได้ (MP, MY, MR)

    ค่าโหลดโมเมนต์สถิตวิกฤติที่กระทำต่อระบบขณะรับโหลด จะถูกกำหนดให้สอดคล้องกับการยุบตัวถาวรเช่นเดียวกับแรงสถิตประเมิน (Co)

    • ค่าเผื่อความปลอดภัย (fs)

    ตามตารางกำหนด เมื่อระบบเชิงเส้นอยู่กับที่ หรือมีการเคลื่อนที่ช้า แรงสถิตประเมิน (Co) ต้องหารด้วย ค่าเผื่อความปลอดภัย (fs) ให้สอดคล้องกับเงื่อนไขในการนำไปใช้งาน

    arrow step

    2เลือกรูปทรง

    เลือกรูปทรงที่เหมาะสำหรับเงื่อนไขการใช้งานจากตารางแยกชนิดของลิเนียร์บุชชิ่ง พิจารณาขนาดที่ใช้โดยประมาณ

    Flange Type Straight Type Housing Type
    Standard Spigot Joint Center Standard Wide Block Tall Block Slide Shaft
    Single 01 02 - 03 04 05 -
    Double 06 07 08 09 10 11 -
    Long 12 13 - - - - -
    Compact 14 15 16 17 - 18 -
    Short Middle 19 20 21 22 23 24 -
    arrow step

    3ตรวจสอบค่าความแข็งแกร่งของเพลา

    • เส้นผ่านศูนย์กลางโดยประมาณของเพลา
    • ความยาวโดยประมาณของเพลา
    • รูปแบบการล็อคเพลา
    • โหลดน้ำหนักที่ยอมรับได้ของเพลา
    • การเปลี่ยนตำแหน่งของเพลา (การโก่งตัว)
    arrow step

    4ตรวจสอบค่าความแข็งแกร่งของเพลา

    การคำนวณอายุการใช้งานเบื้องต้น

    การคำนวณอายุการใช้งานเบื้องต้น

    เมื่อมีโหลดมากระทำต่อชุดรางเลื่อนเชิงเส้น ระบบจะวิ่งไปมาในแนวเส้นตรง ซึ่งระหว่างขั้นตอนดังกล่าว จะเกิดความเค้นต่อเม็ดลูกปืนและหน้าสัมผัส ทำให้เกิดความเสียหายที่เรียกว่า สะเก็ด (Flaking) เนื่องมาจากความล้าของวัสดุ ซึ่งอายุการใช้งานของชุดรางเลื่อนเชิงเส้นจะอาศัยระยะทางการเคลื่อนที่ทั้งหมด โดยครอบคลุมตั้งแต่ระบบเริ่มทำงาน จนเกิดสะเก็ด (Flaking )

    • อายุประเมิน (L)

    การทดสอบระยะการเคลื่อนที่ทั้งหมดของชุดรางเลื่อน ในขณะที่ทำการทดสอบ จะต้องอยู่ภายใต้สภาวะหรือเงื่อนไขเดียวกัน โดยชุดรางเลื่อนจะต้องไม่เกิดความเสียหาย ซึ่งสามารถหาได้จากแรงพลวัตประเมินและโหลดค่าต่าง ๆ ที่กระทำต่อชุดรางเลื่อนเชิงเส้น

    การคำนวณทางเทคนิค

    เมื่อระบบเชิงเส้นถูกใช้งานจริง จำเป็นต้องทำการคำนวณโหลดในส่วนของแรงสั่นสะเทือนและแรงกระแทกที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน โดยจะมีตัวแปรอุณหภูมิที่ถูกนำมาพิจารณาเพิ่มเติม เนื่องจากอุณหภูมิขณะการทำงานก็มีผลต่ออายุการใช้งานเช่นกัน

    การคำนวณทางเทคนิค

    อายุการใช้งาน สามารถคำนวณออกมาเป็นจำนวนชั่วโมง โดยใช้ระยะทางการเคลื่อนที่เป็นหน่วยของเวลา โดยสมมติว่าความยาวของระยะการเคลื่อนที่ (Stroke Length) และจำนวนรอบของการเคลื่อนที่ไปและกลับ (Stroke Cycle) เป็นค่าคงที่

    การคำนวณทางเทคนิค
    arrow step

    5เลือกความแม่นยำ (เฉพาะผลิตภัณฑ์ของ THK)

    arrow step

    6เลือกคุณสมบัติโดยพิจารณาจากสภาพแวดล้อมการใช้งาน

    การป้องกันสนิม (ผลิตภัณฑ์จากมิซูมิ)

    การป้องกันสนิม (ผลิตภัณฑ์จากมิซูมิ)
    • ลิเนียร์บุชชิ่ง สามารถชุบโครเมียมสีดำที่อุณหภูมิต่ำได้ โดยใช้ฟิล์มบางสีดำเคลือบผิว เพื่อการป้องกันสนิมในระยะยาว (ความหนาของฟิล์มประมาณ 5 μm)
    • ไม่มีการแตกร้าวของผิวเคลือบแม้ในขณะใช้งานในลักษณะโค้งงอ
    • เมื่อใช้งานคู่กับเพลาเชิงเส้นที่ชุบโครเมียมสีดำที่อุณหภูมิต่ำจะเหมาะสมสำหรับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดสนิมได้ง่ายและช่วยลดแสงสะท้อนอีกด้วย

    ตารางเปรียบเทียบการทดสอบความสามารถในการป้องกันสนิม

    เทียบเท่า SUJ2 SUS440C ซุบนิกเกิลไม่ใช้ไฟฟ้า ซุบโครเมียมสีดำที่อุณหภูมิต่ำ
    ก่อนทดสอบ เทียบเท่า SUJ2 SUS440C ซุบนิกเกิลไม่ใช้ไฟฟ้า ซุบโครเมียมสีดำที่อุณหภูมิต่ำ
    72 hr. เทียบเท่า SUJ2 SUS440C ซุบนิกเกิลไม่ใช้ไฟฟ้า ซุบโครเมียมสีดำที่อุณหภูมิต่ำ
    168 hr. เทียบเท่า SUJ2 SUS440C ซุบนิกเกิลไม่ใช้ไฟฟ้า ซุบโครเมียมสีดำที่อุณหภูมิต่ำ
    เทียบเท่า SUJ2 SUS440C ซุบนิกเกิลไม่ใช้ไฟฟ้า ซุบโครเมียมสีดำที่อุณหภูมิต่ำ

    วิธีทดสอบ : Salt Spray Tester ตามขั้นตอนที่ระบุในมาตรฐาน JIS H8502

    ชิ้นงานทดสอบ : ลิเนียร์บุชชิ่งแบบมีหน้าแปลนชนิด Single Type

    การป้องกันฝุ่น

    หากมีฝุ่นผงหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในลิเนียร์บุชชิ่ง อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการสึกหรอแบบผิดปกติหรือเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร หากใช้งานในสภาพแวดล้อมที่อาจมีฝุ่นผงหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปด้านใน สามารถป้องกันได้ดังนี้

    • ติดผ้าสักหลาดที่ผิวหน้าตัดของลิเนียร์บุชชิ่ง
    • ติดยางกันฝุ่นหรือฝาครอบที่เพลา
    การคำนวณทางเทคนิค
    arrow step
  • การคำนวณการใช้งาน

    โหลดที่ยอมรับได้

    • แรงพลวัตประเมิน (C)

    แรงคงที่ที่กระทำในทิศทางตรง ซึ่งทำให้ชุดรางเลื่อนเกิดการเคลื่อนที่ไป ภายใต้เงื่อนไขการใช้งานเดียวกัน โดย 90 % ของวัสดุนั้นจะไม่ได้รับความเสียหายจากความล้าจากการกลิ้ง

    • แรงสถิตประเมิน (Co)

    แรงสถิตที่กระทำบนชิ้นส่วนที่มีการสัมผัสภายใต้ความเค้นสูงสุด ซึ่งผลรวมของการยุบตัวถาวรของเม็ดลูกปืนและหน้าสัมผัสที่ใช้กลิ้งเท่ากับ 0.0001 เท่าขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของเม็ดลูกปืน

    • โมเมนต์สถิตที่ยอมให้มีได้ (MP, MY, MR)

    ค่าโหลดโมเมนต์สถิตวิกฤติที่กระทำต่อระบบขณะรับโหลด จะถูกกำหนดให้สอดคล้องกับการยุบตัวถาวรเช่นเดียวกับแรงสถิตประเมิน (Co)

    • ค่าเผื่อความปลอดภัย (fs)

    ตามตารางกำหนด เมื่อระบบเชิงเส้นอยู่กับที่ หรือมีการเคลื่อนที่ช้า แรงสถิตประเมิน (Co) ต้องหารด้วย ค่าเผื่อความปลอดภัย (fs) ให้สอดคล้องกับเงื่อนไขในการนำไปใช้งาน

    เงื่อนไขการใช้งาน ค่าใช้งานต่ำสุด (fs)
    ภายใต้การใช้งานปกติ 1-2
    เมื่อต้องการการเคลื่อนที่ที่ราบเรียบ 2-4
    เมื่อได้รับแรงสั่นสะเทือนหรือแรงกระแทก 3-5

    ตารางที่ 1 ค่าเผื่อความปลอดภัย (ค่าใช้งานต่ำสุด fs)

    การคำนวณทางเทคนิค

    การคำนวณอายุการใช้งานเบื้องต้น

    การคำนวณอายุการใช้งานเบื้องต้น

    เมื่อมีโหลดมากระทำต่อชุดรางเลื่อนเชิงเส้น ระบบจะวิ่งไปมาในแนวเส้นตรง ซึ่งระหว่างขั้นตอนดังกล่าว จะเกิดความเค้นต่อเม็ดลูกปืนและหน้าสัมผัส ทำให้เกิดความเสียหายที่เรียกว่า สะเก็ด (Flaking) เนื่องมาจากความล้าของวัสดุ ซึ่งอายุการใช้งานของชุดรางเลื่อนเชิงเส้นจะอาศัยระยะทางการเคลื่อนที่ทั้งหมด โดยครอบคลุมตั้งแต่ระบบเริ่มทำงาน จนเกิดสะเก็ด (Flaking )

    • อายุประเมิน (L)

    การทดสอบระยะการเคลื่อนที่ทั้งหมดของชุดรางเลื่อน ในขณะที่ทำการทดสอบ จะต้องอยู่ภายใต้สภาวะหรือเงื่อนไขเดียวกัน โดยชุดรางเลื่อนจะต้องไม่เกิดความเสียหาย ซึ่งสามารถหาได้จากแรงพลวัตประเมินและโหลดค่าต่าง ๆ ที่กระทำต่อชุดรางเลื่อนเชิงเส้น

    การคำนวณทางเทคนิค

    เมื่อระบบเชิงเส้นถูกใช้งานจริง จำเป็นต้องทำการคำนวณโหลดในส่วนของแรงสั่นสะเทือนและแรงกระแทกที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน โดยจะมีตัวแปรอุณหภูมิที่ถูกนำมาพิจารณาเพิ่มเติม เนื่องจากอุณหภูมิขณะการทำงานก็มีผลต่ออายุการใช้งานเช่นกัน

    การคำนวณทางเทคนิค

    อายุการใช้งาน สามารถคำนวณออกมาเป็นจำนวนชั่วโมง โดยใช้ระยะทางการเคลื่อนที่เป็นหน่วยของเวลา โดยสมมติว่าความยาวของระยะการเคลื่อนที่ (Stroke Length) และจำนวนรอบของการเคลื่อนที่ไปและกลับ (Stroke Cycle) เป็นค่าคงที่

    การคำนวณทางเทคนิค

    Linear Ball Bushing

    อายุประเมิน สามารถคำนวณได้จากแรงพลวัตประเมินและโหลดที่กระทำต่อปลอกนำเลื่อนตรงแบบลูกปืนทรงกลม

    การคำนวณทางเทคนิค

    สำหรับจำนวนชั่วโมงของอายุการใช้งาน (Lh) สามารถคำนวณได้ทั้ง 2 แบบคือ การเคลื่อนที่แบบหมุนและไปกลับ และสำหรับการเคลื่อนที่แบบไปกลับ

    การคำนวณทางเทคนิค

    แรงขับเคลื่อนในแนวแกนที่ต้องการเพื่อชนะความฝืดของชุดรางเลื่อน

    สามารถทำการคำนวณค่าความต้านทานการเสียดทาน (แรงดันที่ต้องใช้) ได้จากน้ำหนักของโหลดและความต้านทานของซีลที่ระบุไว้

    การคำนวณทางเทคนิค
    ประเภท สัมประสิทธิ์การเสียดทานพลวัต
    Miniature Slide Guides 0.004 - 0.006
    Medium Load Slide Guides 0.002 - 0.003
    Slide Ways 0.001 - 0.003
    Slide Tables 0.001 - 0.003
    Linear Bushings 0.002 - 0.003
    Linear Ball Bushings 0.0006 - 0.0012

    ตารางที่ 2 สัมประสิทธิ์การเสียดทานพลวัต

    กราฟแสดงค่าสัมประสิทธิ์ความแข็ง

    รูปที่ 1 กราฟแสดงค่าสัมประสิทธิ์ความแข็ง

    • ค่าสัมประสิทธิ์ความแข็ง (fH)

    ในชุดรางเลื่อนเชิงเส้น รางเลื่อนต้องมีความแข็งแรงมากพอที่จะต้องรับแรงสัมผัสกับลูกปืน ถ้าความแข็งไม่มากพอ จะส่งผลให้อายุการใช้งานสั้นลง ดังนั้นจึงต้องปรับแก้ค่าอายุการใช้งาน โดยประเมินด้วยค่าสัมประสิทธิ์ความแข็ง

    กราฟแสดงค่าสัมประสิทธิอุณหภูมิ

    รูปที่ 2 กราฟแสดงค่าสัมประสิทธิอุณหภูมิ

    • ค่าสัมประสิทธิ์อุณหภูมิ (fY)

    หากอุณหภูมิของระบบการเคลื่อนที่เกินกว่า 100 °C ความแข็งของระบบการเคลื่อนที่เชิงเส้นจะลดลง ทำให้ค่าโหลดที่ยอมรับได้ต่ำกว่าการใช้งานในอุณหภูมิปกติ ส่งผลให้อายุการใช้งานสั้นลง ดังนั้นจึงต้องปรับแก้ค่าอายุการใช้งานโดยประเมินด้วยค่าสัมประสิทธิ์อุณหภูมิ

    • ค่าสัมประสิทธิ์การสัมผัส (fc)

    ระบบการเคลื่อนที่เชิงเส้นที่ใช้งานจริงนั้น โดยทั่วไปเพลา 1 ชิ้นมักถูกใช้งานในการเคลื่อนที่เชิงเส้นตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไปเสมอ ในกรณีดังกล่าว โหลดที่กระทำต่อระบบการเคลื่อนที่เชิงเส้นในแต่ละระบบจะแตกต่างกันไปตามความแม่นยำในการทำงานของชิ้นส่วน ซึ่งไม่ได้กระจายน้ำหนักให้สม่ำเสมอกันทั้งหมด ส่งผลให้ค่าโหลดที่ยอมรับได้ต่อ 1 ระบบการเคลื่อนที่เชิงเส้น จะแตกต่างกันไปตามจำนวนระบบการเคลื่อนที่เชิงเส้นต่อเพลา 1 ชิ้น ดังนั้น จึงต้องปรับแก้ค่าอายุการใช้งานโดยประเมินด้วยค่าสัมประสิทธิ์การสัมผัส ดังนี้

    จำนวนลูกปืนต่อราง ค่าสัมประสิทธิ์การสัมผัส (fc)
    1 1.00
    2 0.81
    3 0.72
    4 0.66
    5 0.61

    ตารางที่ 3 ค่าสัมประสิทธิ์การสัมผัส (fc)

    • ค่าสัมประสิทธิ์โหลด (fw)

    การคำนวณน้ำหนักโหลดในระบบการเคลื่อนที่เชิงเส้นนั้น นอกเหนือจากน้ำหนักของตัววัตถุแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่จำเป็นต้องพิจารณาในการคำนวณเพื่อให้ได้ค่าที่แม่นยำ ได้แก่ แรงเฉื่อยซึ่งส่งผลต่อความเร็วในการเคลื่อนที่ เช่น โมเมนตัม และปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ยังเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย สำหรับการเคลื่อนที่แบบไปและกลับนั้น นอกเหนือจากการใส่แรงกลับไปกลับมาในการเริ่มขยับและหยุดเคลื่อนที่แล้ว ยังต้องพิจารณาถึงแรงสั่นสะเทือนและแรงกระแทกที่เกิดขึ้นอีกด้วย การคำนวณหาค่าที่แม่นยำจึงเป็นไปได้ยาก ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณอายุการใช้งานจึงจำเป็นต้องใช้ค่าสัมประสิทธิ์โหลดตามตารางที่ 4 ดังนี้

    เงื่อนไขการใช้งาน fw
    ไม่มีแรงสั่นสะเทือนหรือแรงกระแทกจากภายนอกใช้งานที่ความเร็วต่ำ ไม่เกิน 15 m/min 1.0∼1.5
    มีแรงสั่นสะเทือนและหรือแรงกระแทกบ้างเล็กน้อย แต่ไม่รุนแรง ใช้งานที่ความเร็วปานกลาง ไม่เกิน 60 m/min 1.5∼2.0
    มีแรงสั่นสะเทือนหรือแรงกระแทกจากภายนอกใช้งานที่ความเร็วสูง เกินกว่า 60 m/min 2.0∼3.5

    ตารางที่ 4 ค่าสัมประสิทธิ์โหลด (fw)

    ปลอกนำเลื่อนตรงแบบสัมผัส (Linear Bushing)

    อายุประเมิน สามารถคำนวณได้จากแรงพลวัตประเมินและโหลดที่กระทำต่อปลอกนำเลื่อนตรงแบบเส้นตรง

    การคำนวณทางเทคนิค

    อายุการใช้งาน สามารถคำนวณออกมาเป็นจำนวนชั่วโมง โดยใช้ระยะทางการเคลื่อนที่เป็นหน่วยของเวลา ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยใช้สูตรต่ไปนี้ โดยสมมติว่าความยาวของระยะการเคลื่อนที่ (Stroke Length) และจำนวนรอบของการเคลื่อนที่ไปและกลับ (Stroke Cycle) เป็นค่าคงที่

    การคำนวณทางเทคนิค
  • ข้อคำนึงในการเลือกใช้งานให้เหมาะสม

    ความโก่งตัวของเพลา

    กรณีใช้งานตามแนวราบ ชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนที่รวมถึงลิเนียร์บุชชิ่งจะเคลื่อนที่บนเพลาตามโครงสร้างรับน้ำหนักของเพลาระหว่างปลายทั้งสองด้าน ดังนั้น ในกรณีที่มีการรับโหลดน้ำหนักมาก อาจทำให้เพลาเกิดการโก่งตัวขึ้นได้ จึงควรตรวจสอบก่อนเริ่มใช้งานโดยการคำนวณค่าความโก่งตัวของเพลาตามสูตรคำนวณต่อไปนี้

    การคำนวณทางเทคนิค

    ดังนั้น หากต้องการลดความโก่งตัวของเพลาจึงสามารถทำได้โดยการเพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเพลา (แปรผันยกกำลัง 4) หรือลดระยะทางตามโครงสร้างของเพลาให้สั้นลง (แปรผันยกกำลัง 3)

    การคำนวณทางเทคนิค

    การป้องกันฝุ่น

    หากมีฝุ่นผงหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในลิเนียร์บุชชิ่ง อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการสึกหรอแบบผิดปกติหรือเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร หากใช้งานในสภาพแวดล้อมที่อาจมีฝุ่นผงหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไปด้านใน สามารถป้องกันได้ดังนี้

    • ติดผ้าสักหลาดที่ผิวหน้าตัดของลิเนียร์บุชชิ่ง
    • ติดยางกันฝุ่นหรือฝาครอบที่เพลา
    การคำนวณทางเทคนิค

    โมเมนตัม

    การติดตั้งลิเนียร์บุชชิ่งควรใช้งานโดยกระจายน้ำหนักโหลดตลอดพื้นผิวไถลของเม็ดลูกปืนให้สม่ำเสมอกัน กรณีที่มีแรงกระทำเนื่องจากโมเมนตัม ผลิตภัณฑ์ชนิด Short หรือ Single จะไม่สามารถใช้งานเพียงชิ้นเดียวได้ จึงควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ชนิด Double หรือติดตั้งเป็นจำนวนหลายชิ้นพร้อมกัน กรณีที่ติดตั้งหลายชิ้นพร้อมกัน ควรติดตั้งโดยให้แต่ละชิ้นมีระยะห่างกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

    การใช้งานในอุณหภูมิสูง

    การใช้งานในอุณหภูมิสูง

    ผลิตภัณฑ์ที่มี Side Ring (Seal) หรือ Retainer ทำจากวัสดุพลาสติกหรือยาง โดยทั่วไปจะใช้งานได้ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 80 ℃ หากต้องการใช้งานที่อุณหภูมิสูงกว่านั้น ต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์โดยพิจารณาด้านคุณสมบัติด้านการทนความร้อนของ Side Ring (Seal) หรือ Retainer หรือจาระบี ฯลฯ ด้วย หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมโปรดสอบถามทางผู้ผลิตชิ้นส่วน

    การใช้งานในห้องคลีนรูม

    การใช้งานในห้องคลีนรูม

    ควรเลือกใช้วัสดุที่ทนทานต่อการเกิดสนิม เช่น SUS ฯลฯ และหล่อลื่นโดยใช้จาระบีที่มีอัตราการเกิดฝุ่นต่ำ

    เสียงดังขณะใช้งาน

    โดยทั่วไป วัสดุส่วน Retainer ที่เป็นพลาสติกจะช่วยลดเสียงดังขณะทำงานได้ดีกว่าวัสดุที่เป็นโลหะ

    สินค้าลิเนียร์บุชชิ่ง (Linear Bushing)

  • ผลิตภัณฑ์จากมิซูมิ

    การป้องกันสนิม (ผลิตภัณฑ์จากมิซูมิ)

    การป้องกันสนิม (ผลิตภัณฑ์จากมิซูมิ)
    • ลิเนียร์บุชชิ่ง สามารถชุบโครเมียมสีดำที่อุณหภูมิต่ำได้ โดยใช้ฟิล์มบางสีดำเคลือบผิว เพื่อการป้องกันสนิมในระยะยาว (ความหนาของฟิล์มประมาณ 5 μm)
    • ไม่มีการแตกร้าวของผิวเคลือบแม้ในขณะใช้งานในลักษณะโค้งงอ
    • เมื่อใช้งานคู่กับเพลาเชิงเส้นที่ชุบโครเมียมสีดำที่อุณหภูมิต่ำจะเหมาะสมสำหรับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดสนิมได้ง่ายและช่วยลดแสงสะท้อนอีกด้วย

    ตารางเปรียบเทียบการทดสอบความสามารถในการป้องกันสนิม

    เทียบเท่า SUJ2 SUS440C ซุบนิกเกิลไม่ใช้ไฟฟ้า ซุบโครเมียมสีดำที่อุณหภูมิต่ำ
    ก่อนทดสอบ เทียบเท่า SUJ2 SUS440C ซุบนิกเกิลไม่ใช้ไฟฟ้า ซุบโครเมียมสีดำที่อุณหภูมิต่ำ
    72 hr. เทียบเท่า SUJ2 SUS440C ซุบนิกเกิลไม่ใช้ไฟฟ้า ซุบโครเมียมสีดำที่อุณหภูมิต่ำ
    168 hr. เทียบเท่า SUJ2 SUS440C ซุบนิกเกิลไม่ใช้ไฟฟ้า ซุบโครเมียมสีดำที่อุณหภูมิต่ำ
    เทียบเท่า SUJ2 SUS440C ซุบนิกเกิลไม่ใช้ไฟฟ้า ซุบโครเมียมสีดำที่อุณหภูมิต่ำ

    วิธีทดสอบ : Salt Spray Tester ตามขั้นตอนที่ระบุในมาตรฐาน JIS H8502

    ชิ้นงานทดสอบ : ลิเนียร์บุชชิ่งแบบมีหน้าแปลนชนิด Single Type

    การอัดจาระบี (ผลิตภัณฑ์จากมิซูมิ)

    การอัดจาระบี (ผลิตภัณฑ์จากมิซูมิ)
    • ลิลิเนียร์บุชชิ่ง ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของมิซูมิ ที่ผ่านการเคลือบผิวน้ำมันกันสนิมทั้งชิ้นส่วน ยกเว้นชุดหล่อลื่น MX สามารถเลือกเปลี่ยนชนิดของจาระบีที่ต้องการอัดได้จากตารางด้านล่างนี้
    ชนิด ชื่อผลิตภัณฑ์ จุดเด่น
    L ET-100K (KYODO YUSHI) ทนความร้อนได้ดีเยี่ยมและมีความเสถียรต่อการเกิดออกซิเดชัน นอกจากนี้ยังมีการยึดเกาะและความแข็งแรงของกาวที่ดีเยี่ยมและมีการกระเจิงและการรั่วไหลเล็กน้อย
    G LG2 (NSK) เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมที่สะอาดเนื่องจากเกิดฝุ่นน้อย มันยังมีการป้องกันสนิมที่ดีเยี่ยม
    H FGL (Lubriplate®) เหมาะสำหรับใช้หล่อลื่นในเครื่องจักรบรรจุและแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม และยารักษาโรค (ขึ้นทะเบียน NSF H-1 หมายเลข 043534)

    สินค้าลิเนียร์บุชชิ่ง (Linear Bushing) จากแบรนด์มิซูมิ

ลิเนียร์บุชชิ่ง (Linear Bushing)
MISUMI 5 Benefit