(!) เนื่องจาก Microsoft จะหยุดให้การสนับสนุนระบบปฏิบัติการ Windows 7 ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2563 และอาจส่งผลให้ผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 ไม่สามารถใช้งานเว็บไซต์มิซูมิได้อย่างสมบูรณ์ กรุณาอัพเดทระบบและบราวเซอร์ตามเงื่อนไขระบบที่รองรับมิซูมิเว็บไซต์

    Sales
  • ดูล่าสุด
  • ชิ้นส่วนของฉัน
  • รถเข็น
ผลิตภัณฑ์ที่ดูล่าสุด
X
ชิ้นส่วนของฉัน
X
รถเข็น รายการ
X
Loading...
  • แจ้งวันหยุดทำการในเดือน เมษายน 2567 | Notice holiday in April 2024 > คลิก

ด้ามจับ

ด้ามจับ คือชิ้นส่วนที่ยึดกับเครื่องใช้อุปกรณ์ประตู ฯลฯ และถือเคลื่อนย้ายเปิดและปิดได้ง่ายนอกเหนือจาก รูปทรง ยูแบนที่พบมากที่สุดแล้วยังมีรูปทรงต่างๆเช่นประเภท แท่งทรงกระบอก ชนิด แบบฝัง ประเภท ปลายยื่นด้านหนึ่ง และมีวิธีการยึดที่หลากหลายเช่น สกรู รู แบบกลม เชื่อมการติดตั้งภายนอกเป็นต้นผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีขนาดที่กำหนดไว้ล่วงหน้า แต่มี ด้ามจับ ที่สามารถสั่งซื้อได้โดยระบุความสูง พิทช์ ความหนาของ ตัวจับชิ้นงาน ฯลฯมี วัสดุ ใช้มากมายเช่นโลหะ เรซิ่น ไม้ ฯลฯ และเลือกใช้ตาม วัสดุ และ เนื้อสัมผัส ของวัตถุยึดความแข็งแรงที่ต้องการเป็นต้นมีที่ ด้ามจับ มีฟังก์ชั่นเพิ่มเติมเช่นที่สามารถพับเก็บได้, ที่มีตัว ล็อค ธรรมดา, ที่ป้องกันแบคทีเรียเป็นต้นและคุณสามารถเลือก ผลิตภัณฑ์ ตามต้องการ
CAD
วันจัดส่ง
  • ทั้งหมด
  • บริการจัดส่งวันเดียวกัน
  • 1 วันหรือน้อยกว่า
  • 3 วันหรือน้อยกว่า
  • 4 วันหรือน้อยกว่า
  • 5 วันหรือน้อยกว่า
  • อื่น ๆ
ไม่พบผลิตภัณฑ์
30
60
90

กำลังโหลด …

กลุ่มสินค้าที่เกี่ยวข้องสำหรับ ด้ามจับ

FAQ ด้ามจับ

Question: ปัจจัยใดบ้างที่จะต้องนำมาพิจารณาในการเลือกซื้อด้ามจับแบบติดตายและด้ามจับแบบปรับได้?
Answer: 1. ประเภทของประตู ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทเป็นหลัก คือ
   1.1. ประตูทางผ่าน ซึ่งไม่ต้องการความปลอดภัยมาก เช่น ประตูห้องน้ำสาธารณะ ซึ่งประตูแบบนี้มักจะไม่มีกุญแจล็อก หรือมีแค่ด้ามจับอย่างเดียว
   1.2. ประตูทั่วไป ซึ่งเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก เช่น ประตูบ้าน ประตูห้องนอน ซึ่งประตูแบบนี้มักจะมีการล็อกจากด้านใน ส่วนด้านนอกสามารถปลดล็อกได้ด้วยกุญแจ
2. ระบบการล็อกของบานประตู ซึ่งโดยปกติแล้ว ด้ามจับแบบติดตายตัวจะไม่มีระบบล็อกเหมือนด้ามจับแบบปรับได้ ทำให้หากต้องการระบบล็อก ด้ามจับแบบติดตายจะต้องมีการติดตั้งชุดล็อกแยกต่างหาก
3. ความหนาของบานประตู เป็นอีกสิ่งที่จะต้องพิจารณา โดยทั่วไปแล้วประตูมักจะมีความหนาประมาณ 32-50 ม.ม. แต่ประตูบางประเภท เช่น ประตูในไลน์การผลิตเพื่อการเก็บรักษาอุณหภูมิอาจมีความหนามากขึ้น จึงต้องมีการวัดก่อนพิจารณาสั่งซื้อ
4. สภาพแวดล้อม เช่น ประตูภายนอกอาคาร ควรเลือกใช้ด้ามจับที่มีความแข็งแรง สีชุบผิวไม่หลุดลอก หรือประตูภายในไลน์การผลิต ที่มีความชื้นควรวัสดุด้ามจับที่ทำจากใช้สเตนเลส
Question: ด้ามจับมีส่วนช่วยอย่างไรบ้างในด้านของความปลอดภัยและความสะดวกสบายงาน?
Answer: รูปร่างที่เหมาะสมของด้ามจับมีส่วนช่วยอย่างมากในด้านของความปลอดภัยในพื้นที่ทำงาน ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ที่จะพิจารณาว่า ด้ามจับแบบไหนเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของตน เช่น ประตูบานเปิดมักจะใช้ด้ามจับแบบเป็นก้านบิด เพราะทำให้เห็นว่า มีคนกำลังจะเปิดประตูหรือไม่ เพื่อป้องกันการชนกัน หรือในแง่ของความสะดวกสบาย เช่น ด้ามจับแบบฝังตัว (Embedded Handle) ซึ่งมีขนาดเล็ก ไม่กีดขวางพื้นที่ทำงาน ทำให้สถานที่ดูเป็นระเบียบมากขึ้น
Question: ความแตกต่างที่เกิดขึ้นจากรูปร่างของด้ามจับรวมไปถึงผิวสัมผัสแบบแข็งและแบบอ่อนมีสิ่งใดบ้าง
Answer: รูปร่างที่แตกต่างของด้ามจับย่อมมีผลกระทบต่อการออกแรง เช่น ประตูที่มีน้ำหนักมากจะใช้ด้ามจับขนาดใหญ่แบบเต็มมือมากกว่าด้ามจับแบบฝังตัว (Embedded Handle) เพราะสามารถออกแรงได้ดีกว่าในการดึงเปิด อีกกรณีหนึ่ง ผิวสัมผัสย่อมมีผลกระทบต่อแรงบีบจับ ผิวสัมผัสแบบนุ่มช่วยลดแรงกดทับที่มือ ทำให้จับได้สบายขึ้นเมื่อต้องยกของที่มีน้ำหนัก ขณะเดียวกัน ผิวสัมผัสแบบแข็งทำให้สามารถควบคุมแรงของผู้ใช้งานได้ดีกว่า
Question: วัสดุใดบ้างที่มักถูกนำมาทำด้ามจับ?
Answer: วัสดุที่นำมาทำด้ามจับนั้นมีอยู่มากมาย ทั้งเหล็ก, สเตนเลส, อะลูมิเนียม, สังกะสี และพลาสติกต่างๆ โดยการที่จะเลือกชนิดของด้ามจับ ควรเลือกให้เหมาะสมกับจุดประสงค์และสถานที่ใช้งาน เช่น ด้ามจับพลาสติกเหมาะกับใช้งานในสำนักงาน แต่ไม่เหมาะกับการใช้กลางแจ้ง, ควรใช้ด้ามจับแบบสเตนเลสในไลน์การผลิตที่ต้องมีการล้างทำความสะอาด เนื่องจากทนต่อน้ำและสารเคมี